คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ฝ่ายการพยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ชื่อเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประชากรเป็นผู้บริหารทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพและปริมณฑล การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 109 คน จาก 5 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลซึ่งสร้างโดย จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง และคณะ (2557) เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า Index of Item Objective Congruence (IOC) = 0.8 และค่าความเที่ยง (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และในแต่ละองค์ประกอบเท่ากับ 0.77 - 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Mutiple Regression Analysis) ของสมรรถนะผู้นำเชิงกลยุทธ์ คุณลักษณะบุคคลที่ศึกษาประกอบด้วยอายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพพยาบาล และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า คุณลักษณะเฉพาะบุคคลด้านระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพพยาบาล และ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r =.194, r =.195, r =.214) ตามลำดับ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารทางฝ่ายพยาบาลเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F(1,103)= 4.98*, p-value = 0.028)
จากข้อค้นพบของการวิจัยเรื่องนี้คณะผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายการพยาบาลควรให้ความสำคัญที่จะธำรงรักษาผู้บริหารทางการพยาบาล เพื่อจะได้มีประสบการณ์ในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการคิดเชิงกลยุทธ์และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลอีกทั้งยังพบว่าผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและยังไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการพยาบาลดังนั้นผู้บริหารระดับสูงควรให้มีการอบรมด้านการบริหารการพยาบาล รวมทั้งส่งเสริมให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
References
จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, เนตรชนก ศรีทุมมา และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2556). “สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล”. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 20 (1) : 1-15.
ชูชัย สมิทธิไกร.(2550). การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิ่นฤทัย ประดิษฐศิลป์ (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศองค์การ กับความตั้งใจที่จะอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาการพยาบาล (2555). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559). นนทบุรี : สภาการพยาบาล-นนทบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2556). รายงานการสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร : สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักสถิติแห่งชาติ.
อัญชลี ดวงอุไร (2545). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยการรับรู้ความชัดเจนในนโยบายขององค์การ กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Adair, J. (2009). Leadership for innovation : How to organize team creativity and harvest Ideas. London. Kogan Page.
Adair, J. (2010). Strategic Leadership : How to think and plan strategically and provide direction. London : Kogan Page.
Colbert AE, Judge TA, Choi D, Wang G. (2012). “Assessing the trait theory of leadership using self and observer ratings of personality : The mediating role of contributions to group success”. Leadership Quarterly, 23(4) : 670-85. PubMed PMID : 76616690.
Costa, P. T., & Mccrae, R. R. (1998). Trait theories of personality (pp. 103-121). Springer US
Derue, D. S., Nahrgang, J. D., Wellman, N. & Humphrey, S. E. (2011). “Trait and behavioral theories of leadership : An integration and meta-analytic testof their relative validity”. Personnel Psychology. (64) : 7-52. doi : 10.1111/j.1744-6570.2010.01201.x
Library MBESS1. (2014). Statistical power. [online]. Retrieved April 1, 2014,from https://www.unt./rss/class/mike/5700/Statistical/20.
McClelland, D.C. (1973). “Testing for competence rather than for intelligence.American Psychologist, 28, 1-14.
Marshall, S.P. (1995). Schemes in problem solving. Cambridge University Press, Cambridge, UK.
Polit, D.F. & Hungler, B.P. (1999). Nursing research : Principle and methods (6th ed.).Philadelphia, PA: J.B.Lipincott.
Pounder, J. S. (2001). “New leadership and university organizational effectiveness: exploring the relationship”. Leadership & Organization Development Journal, 22 (6), 281-290.
Wongkhoomthong, J. (2013). “Strategic and innovative leadership in nursing profession”. International Journal of Nursing and Health Science. 1(2) : 1-15.