การพัฒนาเครื่องมือประเมินความล้าของตาในการใช้งานกับจอภาพคอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินความล้าของสายตา ในการใช้งานกับจอภาพคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการวัดความล้าจากการหดและขยายของรูม่านตา (Pupil size/Pupil accommodation) มาคำนวณทางด้านวิศวกรรม (Image processing) แสดงผลเป็นตัวเลขที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ตลอดการทดลอง เพื่อนำมาวิเคราะห์ ความล้าของสายตาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานกับจอภาพคอมพิวเตอร์ได้ ผลการทสอบในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาทางด้านสายตา จำนวน 10 คน อายุเฉลี่ย 24±1.25 ปี ทำการทดสอบความล้าของสายตาด้วยการดูวิดิทัศน์ในห้องมืด เป็นเวลา 60 นาที พบว่าขนาดรูม่านตาก่อนและหลัง ดูวิดิทัศน์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าขนาดรูม่านตามีความสัมพันธ์โดยตรงกับแสงสว่างในแต่ละช่วงเวลาของการดูวิดิทัศน์ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของขนาดรูม่านตาได้ และสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินความล้าเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของการใช้สายตาที่สัมพันธ์กับการทำงานต่อไป
References
ชัยวัฒน์ หาญชาญพานิชย์. (2540). การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยความเมื่อยล้าสายตาเบื้องต้นสำหรับผ้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัตน์มณี มณีรัตน์. (2538). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเมื่อยล้าของสายตาในพนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาชีวสถิติบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สสิธร เทพตระการพร. (2556). การยศาสตร์อาชีวอนามัย Occupational Ergonomics.คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนันทา เกตุอดิศร. (2535). ความเมื่อยล้าของสายตาในผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวีดีที, วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์). สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความปลอดภัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Dainoff M J,Happ, A,Crane P. (1981). “Visual fatigue and occupational stress in VDT operators”. Human Factors. 23(4) : 421 - 438.
Gonzales,R.c.,Woods,R.e. (2002). Digital imageprocessing. second ed.PrenticeHall.
Lee, E.C., Park, K.R., Whang, M., Min, K.H.( 2009). “Measuring the degree of eyestrain caused by watching LCD and PDP devices”. International Journal of Industrial Ergonomics. (39) : 798-806.
Luberto - F, Gobba - F, Broglia - A. (1989). “Temporary myopia and subjective symptoms in video Display terminal operators”. Med - Lav. : 80(2) : 155 - 63.
LaubliTH, Hunting W, Grandjean E. (1981). “Postural and visual loads at VDT workplaces II lighting conditions and visual impairment”. Ergonomics. 24(12) : 933 - 944.
ReidulfG;Wattenandlvar Lie. (1992). “Time factors in VDT - induced myopia and visual fatigue : An experiment study”. Journal Human Ergology.(21) : 13 - 20.
Rossignal AM et al. (1987). “Video display terminals use and reported health symptoms among Massachusetts Clerical worker”. Journal of Occupational Medicine. 29(2) : 112 - 118.