สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับการบริหารสำนักงานการเคหะแห่งชาติ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนำวิธีการทางคิวไอทีซึ่งเกิดจากการบูรณาการระเบียบวิธีคุณภาพซิกซ์ซิกม่าร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงการบริหารสำนักงานการเคหะแห่งชาติให้มีคุณภาพสูงขึ้นด้วยการวิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาสารสนเทศคุณภาพที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานตามระดับการบริหาร 4 ระดับ โดยประชากรที่ศึกษา คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารสำนักงานการเคหะแห่งชาติ ในสำนักผู้ว่าการ ฝ่ายการตลาดและขาย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายการบัญชี จำนวน 77 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับการบริหารสำนักงานการเคหะแห่งชาติ มีจำนวน 104 ฉบับ แบ่งเป็นสำหรับผู้บริหารระดับสูง จำนวน 12 ฉบับ ผู้บริหารระดับกลาง จำนวน 24 ฉบับ ผู้บริหารระดับต้น จำนวน 34 ฉบับ และผู้ปฏิบัติการ จำนวน 34 ฉบับ 2) สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าจำนวน 104 ฉบับ ดังกล่าว มีความถูกต้องตามคุณลักษณะที่เป็นเป้าหมายคุณภาพ คือ สร้างความพึงพอใจ ลดกระบวนการ และลดข้อผิดพลาด และ 3) ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับยอมรับสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าในระดับมาก
ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ คือ นวัตกรรมการวิเคราะห์และการออกแบบสารสนเทศคุณภาพสำหรับการบริหารองค์การขนาดใหญ่ด้วยระเบียบวิธีคุณภาพซิกซ์ซิกม่า
References
การเคหะแห่งชาติ. (2553). รายงานประจำปี 2553. กรุงเทพฯ : กองประชาสัมพันธ์ การเคหะแห่งชาติ.
จตุพล อุพัชยา. (2556). ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพเจ็ดนิสัยสำหรับพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันของบุคลากรอุตสาหกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
จารึก ชูกิตติกุล. (2548). “เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ปรัชญา สาระ และวิทยานิพนธ์”.คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง, (8) : 1-16.
จารึก ชูกิตติกุล. (2553). “เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ : ทฤษฎี วิธีวิจัย และการนำไปใช้”. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง, (11) : 1-15.
-----. (2555). “สารสนเทศคุณภาพ : วิเคราะห์ออกแบบและทดสอบการยอมรับ”. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีชั้นสูง. (13) : 1-17.
ชัยวุฒิ จุฑาพันธ์สวัสดิ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบสารสนเทศคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสนับสนุนการบริหารการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎี บัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ฑกลชัย อุตตรนที. (2556). ตัวแบบสารสนเทศซิกซ์ซิกม่าสนับสนุนการจัดจ้างพัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐที่ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดจ้าง. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
วราภรณ์ อ่ำขวัญยืน. (2556). ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับบริการยาด้วยตนเองของผู้ป่วย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วิชิต นางแล. (2556). รูปแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับสนับสนุนการ เรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2548). การพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยวิธี Six Sigma. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Benyon, D. (2005). Designing interactive systems. Harlow : Addison-Wesley.
Holsti, O. R. (1969). Content analysis for the social sciences and humanities. London : Addison-Wesley.
Laudon, Kenneth C. & Laudon, Jane P. (2006). Management information systems. 9th Edition. New Jersey : Pearson Prentice Hall.