ดูแลอย่างไร ให้ปลอดภัยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

ผู้แต่ง

  • วีรนุช ไตรรัตโนภาส อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • อรวรรณ ศิริองอาจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมรวม โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, พยาบาลหออภิบาล, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

บทคัดย่อ

          การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ ขาดเลือดขยายวงกว้างมากขึ้น บรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ภายหลังได้รับการรักษาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายคุกคามถึงชีวิต บทความนี้รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการดูแลรักษาพยาบาลในหออภิบาลผู้ป่วยหนักหรือไอซียู ภายหลังการรักษาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เริ่มจากระยะแรกรับหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นระยะวิกฤต ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนจนถึงระยะผ่านพ้นวิกฤต เพื่อเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตและช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นหายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นพยาบาล หออภิบาลผู้ป่วยหนักหรือไอซียู จึงควรมีการพัฒนาสมรรถนะการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย หลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีที่สุด

References

จรัญ สายะสถิตย์. (2555). ศัลยศาสตร์โรคหัวใจที่พบบ่อย.พิษณุโลก: ศูนย์โรคหัวใจคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นรลักษณ์ เอื้อกิจ และ พัชรวรรณ ศรีคง. (2556). ภาวะหัวใจวาย:การพยาบาลและคำแนะนำ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(1),131-143.

ผ่องพรรณ แสงอรุณ. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พรทิพา ทองมา, อรพรรณ โตสิงห์, ศิริอร สินธุ และ วรวงศ์ ศลิษฎ์อรรถกร. (2559). ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. วารสารโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 114-126.

ลาลิน เจริญจิตต์ และ อติญาณ์ ศรเกษตริน.(2562). ภาวะแทรกซ้อนและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 246-259.

วชิราภรณ์ สุมนวงศ์, อาภรณ์ ดีนาน, สงวน ธานี, สมสมัย รัตนกรีฑากุล,และ ชัชวาล วัตนะกุล. (2558). การลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดระยะที่2 (รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันโรคทรวงอก. (2554). มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤต. ใน สมจิต หนุเจริญกุล (บ.ก.), การพยาบาลอายุรศาสตร์เล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557).แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. กรุงเทพฯ: เอพลัสบรินส์.

สัญพิชา ศรภิรมย์. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพจน์ศรีมหาโชตะ. (2554). แนวทางการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มีST-Elevation, ใน วิทยาศรีดามา (บ.ก.), Clinical Practice Guideline 2011.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bernet, j.j. (1997). Smoothing the CABG road to cognitive perceptual factors on health promotion behavior maintenance. Nursing Research, 45(1): 30-36.

Hartshorn, J. C., Sole, M. L., &Lamborn, M. L. (1997). Critical Care. (3rded.).Philadelphia: Lippincott-Raven.

Hillis,L.D.,Smith, P.K., Jeffrey, L., Bitt, J.A., Bridges, C.R., Byrne, J.G., et al. (2011). ACCF/AHA Guideline for Coronary Artery Bypass Graft Surgery. Journal of the American College of Cardiology, 58(24), 123-136.

Kirmani, B. H., Brazier, A., Sriskandarajah, S., Alshawabkeh, Z., Gurung, L., Azzam, R., et al. (2016). Long-Term Survival After off-Pump Coronary After Bypass Grafting. The Society of Thoracic Surgeons, 102, 22-27. doi: 10.1016/j.athoracsur.2016.04.003

Lighthall, G. K,&Olejniczak, M.(2015). Routine postoperative care of patients undergoing coronary artery bypass grafting on cardiopulmonary bypass. Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 19(2), 78-86.

Moazzami, K., Dolmatova, E., Maher, J., Gerula, C., Sambol, J., Klapholz, M., et al. (2017). In-Hospital Outcomes and Complications of Coronary Artery Bypass Grafting in the United States Between 2008 and 2012. Journal of Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 31, 19-25. doi:10.1053/j.jvca.2016.08.008

Safaie, N., Montazerghaem, H., Jodati, A., &Maghamipour, N. (2015). In-Hospital Complications of Coronary Artery Bypass Graft Surgery in Patients Older Than 70 Years. Journal of Cardiovascular and Thoracic Research, 7(2), 60-62 doi: 10.15171/jcvtr.2015.13

Shroyer, A. L., Hattler, B., Wagner, T. H., Collins, J. F., Baltz, J. H., Quin, J. A., et al. (2017). Five Year Outcomes After On-Pump and Off-Pump Coronary-Artery Bypass. The New England Journal of Medicine, 377(7), 623-632.

Smart, N. A., Dieberg, G., & King, N. (2018). Long-Term Outcomes of On-Versus Off-Pump CoronaryArtery Bypass Grafting. Journal of The American College of Cardiology, 71(9), 982-991. Doi: 10.1016/j.jacc.2017.12.049.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17