การศึกษารูปแบบลายพิมพ์ปากในการระบุเพศ : กรณีศึกษาประชากรในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
บทคัดย่อ
ลายพิมพ์ปาก (Lip prints) มีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล เช่นเดียวกับลายนิ้วมือ นำมาใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคลและการระบุเพศได้ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบลายพิมพ์ปากและความแตกต่างเพื่อใช้ในการระบุเพศทำการศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่าง เขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม อายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 130 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติดังนี้ ไม่มีความผิดปกติหรือความพิการบริเวณริมฝีปาก ไม่มีรอยโรคหรืออาการที่บ่งบอกถึงการอักเสบของโรคที่ริมฝีปาก ไม่มีบาดแผลหรือการบาดเจ็บที่ริมฝีปาก ไม่มีประวัติไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือประวัติแพ้ลิปสติก สร้างลายพิมพ์ปากโดยใช้ลิปสติกสีเข้ม เนื้อด้าน ไม่เป็นมันวาว ลอกลายด้วยเทคนิคเทปกาวใส และปิดลงบนกระดาษ ใช้การจำแนกรูปแบบลายพิมพ์ปากของ ซูซุกิและทสึชิฮาชิ (Suzuki & Tsuchihashi Lip prints's classification) แบ่งลายพิมพ์ปากออกเป็น 6 ส่วน (quadrant)วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window version 16 ข้อมูลทั้งหมดนำเสนอเป็นความถี่และ ร้อยละวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Chi-Square Test ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
ผลการศึกษาพบว่ามีการกระจายตัวของรูปแบบลายพิมพ์ปากในทุกส่วนของริมฝีปาก แต่ละส่วนพบมากกว่า 1 รูปแบบ ไม่พบชนิด Type III ทั้งเพศชายและเพศหญิง และไม่พบลายพิมพ์ปากที่เหมือน กัน ลักษณะเด่นของเพศหญิงเป็นชนิด Type I ใน Q1 (81.39%) ลักษณะเด่นของเพศชายเป็นชนิด Type V ใน Q2 (70.45%) ในการระบุเพศ จะใช้บริเวณตรงกลางของริมฝีปากล่าง (Q5th) ความกว้างขนาด 10 มิลลิเมตร เนื่องจากมักพบร่องรอยของริมฝีปากส่วนนี้มากกว่าส่วนอื่น เพศหญิงพบลักษณะเด่นเป็นชนิด Type I และเพศชายพบลักษณะเด่นเป็นชนิด Type IV p=0.000พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กลุ่มตัวอย่างเพศชาย ระบุเพศได้ถูกต้อง 61.364% และเพศหญิง ระบุเพศได้ถูกต้อง 90.698% ความแม่นยำในการระบุเพศด้วยลายพิมพ์ปาก คิดเป็น 80.769% ดังนั้น ลายพิมพ์ปาก จึงเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลเช่นเดียวกับลายนิ้วมือ รอยที่ถูกทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุสามารถเชื่อมโยงไปยังผู้ต้องสงสัยได้ จึงเป็นโอกาสพัฒนาในการนำลายพิมพ์ปาก มาใช้เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ตัวบุคคลและระบุเพศในทางนิติวิทยาศาสตร์
References
มัวร์ คีต แอล. (2543). The Developing Human Clinic Oriented Embryology (แปลจาก The Developing Human Clinic Oriented Embryology โดย จันทิมา รุ่งเรืองชัย และคณะ) .กรุงเทพ: บุ๊คเน็ท จำกัด.
A Nagasupriya, RaghuDhanapal, K Reena, TR Saraswathi, and CR Ramachandran. (2011). "Patterns a crime solver". Journal of Forensic Dental Science. 3(1): 3-7.
Magda Ahmed El Domiaty, SamiAwda Al-gaidi, Ahmed AbdelmoneimElayat, MahaDiaaEldeinSafwat, and Sherief Ahmed Galal. (2010). "Morphological patterns of lip prints in Saudi Arabia at AlmedinahAlmonawarah province". Forensic Science International. (200) : 179.e1-179.e9.
Monica Kinra, KarthikeyanRamalingam, SathyaSethuraman, FarzanRehman, Girish Lalawat, &Anil Pandey. (2014). "Cheiloscopy for sex determination: A study". Universal Research Journal of Dentistry. 4(1) : 48-51.
N Ghimire, P Nepal, S Upadhyay, SS Budhathoki, A Subba, and B Kharel. (2013). "Lip prints pattern: an identification tool". Health Renaissance. 11(3) : 229-233.
NasreenIshaq, EhsanUllah, Imran Jawaad, Ali Ikram, and Arif Rasheed. (2014). "Cheiloscopy: A tool for sex determination". The Professional Medical Journal . 4, 21(5): 883-887.
Qudusia Sultana, M.H. Shariff, Muhammed Asif, and Ramakrishna Avadhani. (2014). "Cheiloscopy : A scientific approach for personal identification". International Journal of Anatomy and Research. 2(4) : 668-672.
Rachana V Prabhu, Ajit D Dinkar, Vishnudas Dinesh Prabhu, and Prasanna Kumar Rao. (2012). "Cheiloscopy : Revisited". Journal of Forensic Dental Sciences. 4(1) : 47-52.
Santosh Hunasgi, AnilaKoneru, HansiniGottipati, M. Vanishree, R. Surekha, and SangameshwarManikya.(2014). "Comparison of lip prints, palatal rugae with blood group in Karnataka and Kerala population". Journal of Advanced Clinic & Research Insights.1(3) : 83-88.
Simarpreet Virk Sundhu, Himanta Bansal, Poonam Monga, and Rajat Bhandari. (2012). "Study of lip print pattern in punjabipopulation". Journal of Forensic Dental Sciences. 4(1) : 24-28.
SurajMultani, VivekThombre, Aparna Thombre, and Pratik Surana.(2014). "Assessment of lip prints patterns and its use for personal identification among the population of Rajnandgaon, Chhattisgrarh, India". Journal of International Society Preventive & Community Dentistry. 4(3) : 170-174.
T.N. Uma Maheswari, and N. Gnanasundaram.(2011). "Role of lip prints in personal identification and criminalization". Journal of Forensic Medicine and Toxicology[serial online]. 12(1) : 21.
VikashRanjan, Mysore K Sunil, and Raghav Kumar.(2014). "Study of lip prints: A forensic study" Journal of Indian Academy of Oral Medicine & Radiology. 26(1) : 50-54.