ผลของโปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • กัณฑวรรณ ชุ่มเชื้อ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ 15 ราย เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1)โปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงานโดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.96 หาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงได้เท่ากับ 0.95 ดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองมีความสุขในการทำงานอยู่ ในระดับสูง (x̄= 4.05,S.D.= 0.41) หลังการทดลอง มีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับสูงมาก(x̄= 4.63,S.D. = 0.22) ก่อนการทดลองกลุ่มเปรียบเทียบมีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับสูง (x̄= 4.18 ,S.D. = 0.48) หลังการทดลองอยู่ในระดับสูงเช่นกัน (x̄= 4.11, S.D. = 0.45) และ 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในระยะก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน แต่ภายหลังการทดลองพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 4.004) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าคะแนนความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนความสุขในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t = 5.197)  ผู้วิจัยขอเสนอแนะว่าให้ผู้บริหารทางการพยาบาล ควรส่งเสริมให้นำโปรแกรมการสร้างความสุขในการทำงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการสื่อสารที่ดีและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงาน ไปใช้ในหน่วยงานอื่นที่อยู่ในทีมการพยาบาล เพื่อลดความขัดแย้งของสมาชิกในทีมทางการพยาบาล อันจะเสริมสร้างพยาบาลวิชาชีพ    มีความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น

References

กัลยารัตน์ อ๋องคณา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณค่าในตนสภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ หลักกำจร. (2548). "ทำงานอย่างไรให้มีความสุข" . วารสารกรมประชาสัมพันธ์. 9(102): 15-16.

นภัชชล รอดเที่ยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

นุชรี จันทร์เอี่ยม. (2555). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในทีมบุคลากรทางการพยาบาล งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บังอร ยุววิทยาพานิช. (2547). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการพยาบาลหน่วยตรวจโรคตา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิตา คำโฮม. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี.

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานพยาบาลผ่าตัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพิศ สามะศิริ และบุษบา หน่ายคอน. (2550). "ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร". วารสารกองการพยาบาล. 3(4): 22-31.

พรรณิภา สืบสุข. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงงานการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานการของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ . วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา ศิรถิรกุล, วาสนา อูปป้อ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. (2555). "ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของคณาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัด กระทรวงสาธารณสุข". วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 24(1):10-21.

_________. (2557). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล 2555 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออก.

สมจิตร์ นคราพานิช. (2551). การจูงใจและความพึงพอใจในงาน ในการบริหารการพยาบาล ตอนที่ 2. กรุงเทพมหานคร:ไทยพิทักษ์การพิมพ์.

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์. (2551). อยู่อย่างไรให้เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : มติชน.

อรพินธ์ เจริญผล, ศรีสมร ภูมนสกุล, สายลม เกิดประเสริฐ และปรานี ป้องเรือ. (2548). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาล ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี". รามาธิบดีสาร. 11(1): 60-72.

Barnard, C. I. (1996). The functions of the executive. 2 ed. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press.

Devito, J.A. (2003). Human communication: The basic course. 9 ed. Boston: Pearson Education.

Devito, J.A. (2004). The interpersonal communication book. 10 ed. Boston: Pearson Education.

Diener,E. (2003). Recent finding on subjective welling. [online]. Retrieved October 10, 2014, from http: //www.google.com.

Dunn, R. (1998). Haimann's supervisory management for healthcare organizational. 6 ed. Boston: McGraw-Hill.

Herzberg, F. (1959). Federick ; Mausner, Bernard; and Synderman, block the motivation to Work. New York: John Willey.

_________. (1973). The motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

_________. (1993). The motivation to work. New Brurawick : Transaction.

Ketchian, L., (2003). Happiness at work. [online]. Retrieved October 10, 2014, from deshttp//www.Happiness Club.com.

Manion, J. (2003). Joy at work: creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration. 33(12): 652-655.

Ridder, J. E., & Hartley, C. L. (1992). Nursing into day's world, challengers, issues, and trend (4th ed.). Philadelphia: J. B. Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31