ผลของโปรแกรมการพัฒนาบทบาทการเป็นมารดาสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทรวลัญซ์ เศรษฐ์ภัทรพล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาบทบาทการเป็นมารดาสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบเปรียบเทียบสองกลุ่มวัดผล ก่อนและหลังการทดลอง ผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดาของเมอเซอร์ (Mercer, 1991) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่อายุ  36 สัปดาห์ขึ้นไป ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน โปรแกรมการพัฒนาบทบาทมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ประกอบด้วย การสอนสุขศึกษา การฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับทารก และการติดตามดูแลต่อเนื่อง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างจินตนาการบทบาทการเป็นมารดา การสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและบุตรในครรภ์ การให้กำลังใจ และการส่งเสริมความสำเร็จในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ส่วนบุคคล และแบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา (ศรีสมร ภูมนสกุล และคณะ, 2547) ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสำเร็จในบทบาทการเป็นมารดาด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมและรายด้านภายหลังได้รับโปรแกรมการพัฒนาบทบาทการเป็นมารดาสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอด กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาด้านการสร้างสัมพันธภาพกับทารก ด้านความมั่นใจและด้านความพึงพอใจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05 )

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขควรนำโปรแกรมการพัฒนาบทบาทการเป็นมารดาสำหรับมารดาวัยรุ่นหลังคลอดนี้ ไปใช้ในการเตรียมบทบาทการเป็นมารดาให้กับมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อส่งเสริมความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและบุตร อันจะ ส่งผลถึงประสิทธิภาพการดูแลบุตรให้มีพัฒนาการสมวัยต่อไป

References

กองสถิติ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

ฉมาพร หนูเพชร. (2556). ความรักใคร่ผูกพันของมารดาต่อทารกในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองและมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยตนเองบางส่วน. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทิพาพรรณ คำห้าง. (2554). "ผลของโปรแกรมส่งเสริมบทบาทมารดาด้านการดูแลบุตรของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก". วารสารโรงพยาบาลแพร่, 19(1), 89-100.

นภาพร นพพัฒนกุล. (2557). "ผลของการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก". วารสารพยาบาลเกื้อการุณย์, 21(1), 144-160

พเยาว์ เงินคล้าย. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อการดูแลตนเองและการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มณิสรา เคร่งจริง. (2551). "ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ต่อความผูกพันระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ".วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 16(2), 53-64.

รัชนี ครองระวะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับความสำเร็จในบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรก. วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย: แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็ก ตอนกลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีสมร ภูมนสกุลและคณะ. (2547). "การพัฒนาแบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาฉบับปรับปรุงและคุณสมบัติด้านการวัด". วารสารพยาบาลศาสตร์. 22(1), 28-38.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ข้อมูลสถิติการคลอดบุตรของวัยรุ่นไทยในปี 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/12278/17121.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2556). สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558,จาก https://203.157.108.10/pathum/index.php.

Howard, J.S.&Sater, J. (1985). "Adolescent mother : Self -perceived health education need".Journal of Obstetric Gynecologic Neonatal Nursing. 14 (5) : 399-404.

Mercer, R. T. (1981). "A theoretical framework for studying factors that impact on the maternal role". Nursing Research . 30(2): 73-77

_______.(1991). Model of maternal attainment. Modified from maternal Role: Models and consequences. Paper presented at International Research Conference sponsored by the Council of Nurse Researchers and American Nurse Association, Los Angeles, CA.

Polit, D.F. & Hungler, B.P. (1995). Nursing research: Principles and methods. (5thed.). Philadelphia: J.B. Lippincott company.

Rubin, R. (1967). "Attainment of the maternal role. Part I. Processes". Nursing Research: 16(3), 237-245.

World Health Organization. (2006). Pregnant adolescent: delivering on global promise of hope. National Center for Health Statistics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31