การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อความเป็นเลิศของสาขาวิชาการบัญชี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสาขาวิชาการบัญชีระดับปริญญาตรี สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย เกี่ยวกับ 1) การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในในสภาวะปัจจุบัน 2) ผลการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3) จุดแข็งและจุดอ่อนในการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และ 4) แนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อความเป็นเลิศในทางปฏิบัติของสาขาวิชาการบัญชี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจง จากผู้บริหารสถาบันการศึกษา หัวหน้าภาควิชา อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสาขาการบัญชีจำนวน 12 แห่ง สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 152 ชุด ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 102 ชุด นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสาขาวิชาการบัญชีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยตามตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 9 องค์ประกอบอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะ ระบบและกลไกประกันคุณภาพ การเงิน และปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสาขาวิชาการบัญชี เพื่อความเป็นเลิศ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านการบริหารจัดการ และ ด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ (3) จุดแข็งด้านการพัฒนาการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษาอังกฤษ และมีการส่งเสริมการฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษา สำหรับจุดอ่อน คือการขาดความรู้ในการทำวิจัย การพัฒนาอาจารย์ประจำให้มีคุณวุฒิปริญญาเอก และการพัฒนาอาจารย์ประจำให้มีตำแหน่งทางวิชาการ และ (4) แนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อความเป็นเลิศของสาขาวิชาการบัญชี ควรมีการพัฒนาคณาจารย์ในระดับคณะวิชาและระดับสถาบันให้มีความรู้ความเข้าใจ เห็นประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด มีผลการปรับปรุงที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีนำไปสู่การพัฒนาสถาบัน รวมถึงคุณภาพบัณฑิตไปสู่ความเป็นเลิศ
References
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ. (2558). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558, จาก https://www.eqdd.nu.ac.th/?page_id=216.
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2556). พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน: กรณีศึกษากลุ่มหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและการประกันคุณภาพการศึกษาสมาคม. (2556). ระดับคุณภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
คณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและการประกันคุณภาพการศึกษาสมาคม. (2555). ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของบุคลากรทางการศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
ใจชนก ภาคอัต. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ปีการศึกษา 2553. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์.
เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2556). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ชูเวช ชาญสง่าเวช. (2543). อุดมศึกษาไทยในเวทีโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ถิรนันท์ ปาลี. (2555). การประเมินคุณภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2555. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทองแท่ง ทองลิ่ม และณัฐภรณ์ วงษ์ชื่น. (2557). การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558, จาก https://science.mcru.ac.th/filedata/vijai_qa.pdf.
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2558, จาก https://www.nida.ac.th/th/download/publication/thawatchai.pdf.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช. (2542). การวิเคราะห์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศในเอเชีย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
บวรลักษณ์ เงินมา. (2553). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประนอม รอดวินิจ. (2553). การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
ประภาศ ปานเจี้ยง. (2555). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ภาวนา กิตติวิมลชัยและคณะ. (2555). การศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศและปัญหาอุปสรรคในการนำเอาเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการไปสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น . มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลักขณา จาตกานนท์. (2554). การพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วีระยา จะสาร. (2555). การประเมินกระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ของสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). กระบวนการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ : การประเมินและการประกันคุณภาพ. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชัน.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2556). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2557-2558. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 ,จาก https://www.tqa.or.th/.
สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติและมโนทัศน์ของผู้เกี่ยวข้อง : การวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research). กรุงเทพฯ : บริษัท โฆสิตการพิมพ์ จำกัด.
สุรวี ศุนาลัย. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรสา ภาววิมล. (2552). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตามแนวคิดการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2544). 100 คำถามคำตอบเกี่ยวกับการประกันคุณภาพศึกษาของสถานศึกษาระดับพื้นฐานและอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟันนี่.
Mac Donald Kent. (2557). Leadership & higher education : Academic excellence? Yes all for it. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ,จาก https://kentmacdonald.com.
Ruben Brent D. (2547). Pursuing excellence in higher education. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558, จาก https://muse.jhu.edu/journals/review_of_higher_education.html.