กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
บทคัดย่อ
นักศึกษาพยาบาลเสี่ยงต่อการเกิดความเครียดและวิตกกังวลจากการเรียนทางการพยาบาลเนื่องจากต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยของผู้อื่น เมื่อนักศึกษาพยาบาลปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานครั้งแรกในคลินิกจึงต้องมีกระบวนการส่งเสริมความสามารถเพื่อเป็นแนวทางช่วยเหลือและสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ 1) การทบทวนความรู้และฝึกทักษะการทำหัตถการให้นักศึกษาพยาบาล 2) การเปิดห้องปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานนอกเวลาราชการ 3) การให้ความรู้และความเอาใจใส่ของอาจารย์คลินิก 4) การสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย ให้แก่นักศึกษาพยาบาล 5) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาพยาบาล 6) การสร้างความสามารถในการประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติเพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล 7) การเพิ่มทักษะการติดต่อสื่อสารให้แก่นักศึกษาพยาบาล และ 8)อาจารย์คลินิกปฏิบัติหัตถการกับผู้ป่วยโดยการสาธิตก่อนนักศึกษาพยาบาลลงมือปฏิบัติ กระบวนการส่งเสริมความสามารถมุ่งเน้นเพื่อสร้างแนวทางการส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ให้เป็นระบบ ลดความเครียดและวิตกกังวลและเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคลากรทีมสุขภาพ เพื่อนนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์คลินิกอย่างมีประสิทธิภาพ
References
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2555). คู่มือวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ชุติมา อนันตชัย, กรองทิพย์ นาควิเชตร และ เริงจิตร กลันทปุระ. (2555). "การศึกษาสาเหตุระดับความเครียด และการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล". วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 1(1) : 15-22.
นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้นท์.
เพียรดี เปี่ยมมงคล. (2553). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
มณฑา ลิ้มทองกุลและ สุภาพอารีเอื้อ. (2552). "แหล่งความเครียดวิธีการเผชิญความเครียดและผลลัพธ์การ เผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก". รามาธิบดีพยาบาลสาร. 12(1) : 1-8.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Decker, S. H. (1900). Freud, Dora, and Vienna 1900. New York: Macmillan.
Kast, F., &Rosenzweig, J. (1985). Organization and management : A systems and contingency approach. New York : McGraw-Hill.
Miller, P. S. (2002). Validated practices for teaching students with diverse needs and abilities. Boston: Allyn & Bacon.
Peplau, H. E. (1952). Interpersonal relations in nursing. New York : G. P. Putnam & Sons. Selye, H. (1956). The stress of life. New York : McGraw-Hill.
Slavin, R. E. (2003). Educational psychology : Theory and practice. 7th ed. Boston : Pearson Education, Inc.
Woolfolk, A. E. (2004). Educational psychology. 9th ed. Boston: Pearson Education, Inc.