สมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตบริการสุขภาพที่ 5 กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางสังคมประชากร ความต้องการการศึกษาต่อเนื่อง และสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยเหล่านี้ในพยาบาลเวชปฏิบัติ จำนวน 344 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตบริการสุขภาพที่ 5 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2559 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสำรวจคุณลักษณะทางสังคมประชากร และแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพประจำหน่วยบริการปฐมภูมิ (เมธา พันธ์รัมย์ และคณะ, 2556 ; อรวรรณ สัมภวมานะ และคณะ, 2554) จำนวน 8 สมรรถนะ 157 ข้อมีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา (CVI) = 0.87 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช = 0.98
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.92 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยการรับราชการ 18.28 ปีระยะเวลาเฉลี่ยของการปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิ 11.49 ปีได้รับการศึกษาอบรมต่อเนื่องหลังจบ การศึกษาระดับสูงสุดร้อยละ 54.70 ต้องการเข้ารับการอบรมต่อเนื่องในหลักสูตรระยะสั้นร้อยละ 51.20 และต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาร้อยละ 26.20 ค่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติ ทั้งโดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับสูงจำนวน 7 สมรรถนะ มีเพียง 1 สมรรถนะที่อยู่ในระดับปานกลาง คือการบริหารและการวิจัย จากการจัดอันดับจากค่าคะแนนมากไปน้อย พบว่า อันดับที่ 1 คือสมรรถนะการจัดการกับสุขภาพและความเจ็บป่วย ส่วนอันดับสุดท้าย คือ สมรรถนะการบริหารและการวิจัย สมรรถนะรายด้านส่วนใหญ่มีค่าคะแนนอยู่ในระดับสูง มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพชุมชน การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำวิจัยและการใช้ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานพยาบาล
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรกลุ่มนี้ให้ได้รับการศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่ทันสมัย
References
คณะทำงานศึกษาสถานการณ์การดำเนินการของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงระบบและกลไกการพัฒนาสภาการพยาบาล. (2550). สถานการณ์การดำเนินการของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ : สภาการพยาบาล.
จินตนา นัคราจารย์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูชัย ศุภวงศ์ . (2552). แนะนำหลักคิดและแนวปฏิบัติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ญาณินหนองหาญพิทักษ์และ ประจักษ์ บัวผัน. (2556). "ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี". วารสารวิจัย มข., 13(1), 99 - 111.
ทัศนา บุญทอง สุปราณี อัทธเสรี และนัทธมน ศิริกุล. (2550). "บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการรักษาโรคเบื้องต้นในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ". วารสารสภาการพยาบาล, 22(4), 24 - 37.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 3; กทม. : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ประกาย จิโรจน์กุล และ จุรีรัตน์ กิจสมพร. (2552). "การทบทวนสถานการณ์งานวิจัยด้านสมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ". วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 25(1), 39 - 59.
ประเชิญโชค สมรัตน์ . (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกบริหารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมธา พันธ์รัมย์ สุทธีพร มูลศาสตร์ และ กุญชร เจือตี๋. (2556). ปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มณฑล ทองนิตย์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมพลังอำนาจและสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และ กาญจนา จันทร์ไทย . (2556). คู่มือปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.
วิริยา วิรานันท์ชื่นจิต โพธิ์ศัพท์สุข และ วงเดือน ปั้นดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีกุญญา ลือเลื่อง และ วิภาพร วรหาญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริอร สินธุ รวมพร คงกำเนิด และ กุลระวี วิวัฒนชีวิน. (2557). "การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพ". วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 20(2) :32 - 45.
ศันสนีย์ วงค์ม่วย และ วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). "แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์".วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(3) :46 - 54.
สภาการพยาบาล. (2552). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 - 2559. นทบุรี: ศิริยอดการพิมพ์.
แสงทอง ธีระทองคำ สมจิต หนุเจริญกุล และ นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. (2552). "การรับรู้ประโยชน์ สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะของพยาบาลเวชปฏิบัติในประเทศไทย". วารสารสภาการพยาบาล. 24(2), 39 -49.
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). "คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป: กรณีศึกษาภาคตะวันออก". วารสารสภาการพยาบาล. 27(1) :25-38.
สิริรักษ์ เจริญศรีเมือง. (2551). ปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศูนย์. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อติญาณ์ ศรเกษตริน อรวรรณ สัมภวะมานะ และ กาญจนา สุวรรณรัตน์. (2553). "การปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ". วารสารกองการพยาบาล.37(3) :52 - 63.
อัจฉรียา ปทุมวัน วิไล ตั้งปณิธานดี และ สุปาณี เสนาดิสัย. (2548). "สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาในภาคกลาง ". รามาธิบดีพยาบาลสาร. 11(2) : 149 -163.
อรุณี เผื่อนด้วง อารีรัตน์ ขำอยู่ และ รัชนี สรรเสริญ. (2554). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในหน่วย บริการสุขภาพปฐมภูมิเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 3". วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.19(3) :37 - 53.
อรวรรณ สัมภวมานะ ฤตินันท์ สมุทร์ สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และ เกียรติสุดา ศรีสุข. (2554). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการปฐมภูมิ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Axley, L. (2008)."Competency: a concept analysis". Nursing Forum. 43(4) :214 - 222.
Benner, P. (1984). From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park,CA: Addition - Wesley.
Boyatizis, R.E. (1982). The Competent manager. New York: McGraw - Hill.
Bradshaw, A. (1998). "Defining "competency" in nursing (Part 2): an analytical review".Journal of Clinical Nursing. 7(2) :103 - 111.
Hanucharurnkul S. (2007). "Nurses in primary care and the nurse practitioner role in Thailand". Contemporary Nurse. 26(1): 83 - 93.
McClelland, D.C. (1970). "Testing for competence rather than intelligence".American Psychologist.28 :1 - 14.
McGaghie, W.C., et.al. (1978). Competency - based curriculum development in medical education. Geneva: WHO.
Scott Tilley, D.D. (2008). "Competency in nursing".The Journal of Continuing Education in Nursing. 39(2) :58 - 64.
Spencer, M. & Spencer, M.S. (1993).Competence at work: model for superiors performance. New York : John Wiley & Sons