ผลของโปรแกรมการเสริมพลังของอาสาสมัครเยาวชนด้านสุขภาพ ในการบริจาคโลหิต
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการเสริมพลังของอาสาสมัครเยาวชนด้านสุขภาพในการบริจาคโลหิตกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ที่สมัครเข้ามาเป็นอาสาสมัครด้านสุขภาพ จำนวน 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการเสริมพลังของอาสาสมัครเยาวชนด้านสุขภาพในการบริจาคโลหิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยการประยุกต์แนวคิดการเสริมพลังที่เน้นการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการกลุ่มประกอบด้วย การวิเคราะห์ สภาพปัญหา การอบรมความรู้และทักษะการสื่อสาร การกำหนดแผนกิจกรรม การปฏิบัติการในสถานการณ์จริง การสะท้อนกลับและการประเมินผล ใช้เวลา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกกระบวนการกลุ่ม แบบวัดความรู้และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 87.88 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.61 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อายุเฉลี่ย 19.52 ปี (x̄=19.52, S.D. = 1.12) กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่ากระบวนการกลุ่มทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีความเชื่อมั่นในความรู้และรับรู้ถึงความสามารถของตน และเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นอาสาสมัครด้านสุขภาพที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนโลหิตได้ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และการรับรู้ความสามารถของตน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มตัวอย่างสามารถชักจูงนักศึกษาอื่นๆ มาบริจาคโลหิตได้จำนวน 182 คน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรตระหนักถึงคุณค่าของกลุ่มนักศึกษาอาสาสมัครด้านสุขภาพในการสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทางสุขภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้ง โปรแกรมนี้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยอื่นเพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนโลหิตในพื้นที่
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ปารณัฐ สุขสุทธิ์.(2550). "ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข: และบริบทที่เปลี่ยนไปในสังคมไทย". วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1(3) : 268-279.
จันทิมา วิชกลู. (2551) ผลของการสร้างพลังแกนนำครอบครัวโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุฬาภรณ์ โสตะ, อมรรัตน์ ภูกาบขาว, นวพร ตรีโอษฐ์.(2554). การพัฒนาศักยภาพแกนนำนักศึกษา เพื่อเสริมสร้างค่านิยมการไม่ดื่มแอลกอฮอล์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นฤมล บุญสนองและ ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ.(2552). "การศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคโลหิตของบุคลากร ในโรงพยาบาลพานจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้บริจาคโลหิต".วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 19(3) : 161-170.
นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์ไพร จำกัด.
เบญจา ยอดดำเนิน - แอ็ตติกจ์ และ กาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ชีโน พับลิชชิง (ประเทศไทย) จำกัด.
มนูญ พลายชุม. (2554). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเยาวชนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ปวิตรา สุทธิธรรม.(2554). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุพา พูลสวัสดิ์. (2555). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ มู่บ้านด้านการใช้ยาที่บ้านในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
เยาวดี สุวรรณนาคะ. (2543). ผลของกระบวนการศึกษาเพื่อสร้างพลังที่มีต่อการพัฒนาแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา สมนา.(2544).ความคิดเห็นของบุคลากรอุดมศึกษาที่มีต่อการบริจาคโลหิต.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีณา เที่ยงธรรม, สุนีย์ ละกำปั่น และ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2554). การพัฒนาศักยภาพชุมชน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
สมพร เทพสิทธา. (2542). บทบาทอาสาสมัครกับการช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบปัญหาสังคม : อาสาสมัครกับการบำเพ็ญประโยชน์. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. (2558). มาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต (ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี การพิมพ์.
อรอุมา ช่วยเรือง.(2546). การบริจาคโลหิตและปัจจัยที่ส่งเสริมการบริจาคโลหิต ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandura A. (1977). "Self - efficacy : toward a unifying theory of behavior change". Psychological Review. (84) : 191-215.
Bishop, A.et al. (1988). A collection of popular education resources and activities. Ontario : CUSO education department.
Friere, P. (1970). Pedagogy of the Oppressed. New York : Seabury Press.
Funnell, M.M. (2004). "Patient empowerment". Critical Care Nursing Quartery. 27(2) : 231.
I-chuan, M., Chih, L., & Cing-Min, C. (2007). "Relationship between personality traits, job satisfaction and job involvement among Taiwanese community [Abstract]". Public Health Nursing Abstract. 24(3) : 274.
Palko, N.L., Andrade,M., Silva, A., Moreira,C., Leite,L.J. . (2013). "Nursing care provided to blood donors-from the perspective of integral health care". Esc Anna Nery. 17 (4) : 661 - 667.
Potok, D., Chandler, D. (2005). "The role of nurses in blood services and donor sessions". Nursing Times, 101(23) : 24-25.
Purdey, F.A. (1994). "Participatory health development in Rural Nepal: clarifying the Process of community empowerment ". Health Education Quarterly. 2(3) : 329-343.
National Blood Service .(2005). Guidelines for the blood transfusion services in the United Kingdom. (7 th ed.). Norwich :The stationery.
Shrestha, S. (2003). "A Conceptual model for empowerment of the female community health volunteers in Nepal". Education for Health. 16(3) : 318-327.
Wallerstein, N., Bernstein, E.(1988). "Empowerment education: Freire's ideas adapted to health education" . Health education Quarterly. 15(4) : 379-394.
__________(1994). Introduction to community empowerment participatory education and health. Health Education Quarterly . 21(2) : 141-148.
World Health Organization. (2012). Blood donor selection: guidelines on assessing donor suitability for blood donation. Geneva 27, Switzerland.
__________(2014). Blood donor counselling: implementation guidelines. Geneva 27, Switzerland.