ผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอารมณ์ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนตรวจสวนหัวใจ

ผู้แต่ง

  • ละมัย อยู่เย็น มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอารมณ์ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนตรวจสวนหัวใจ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 2559 โดยผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของมิเชลกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจประกอบด้วย 4 ด้านคือ1) ด้านความคลุมเครือในความเจ็บป่วยและการรักษา 2) ด้านความซับซ้อนของการรักษาและระบบบริการสุขภาพ 3) ด้านความไม่สม่ำเสมอในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษาและ4) ด้านไม่สามารถทำนายผลลัพธ์ของความเจ็บป่วยและการรักษาได้ ข้อคำถามทั้งหมด 24 ข้อ วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ข้อมูลส่วนบุคคลนำมาแจกแจงความถี่ร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยก่อนและหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้สถิติ Paired t-test

          ผลการใช้โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอารมณ์ต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือด พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยโดยรวมหลังได้รับโปรแกรมฯ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .05 ) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอารมณ์สามารถลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนตรวจสวนหัวใจ

References

ขวัญเมือง สอนดา. (2558). ปัจจัยทำนายความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนการสวนหัวใจ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดวงเดือน สุวรรณพันธ์. (2544). ผลของการได้รับข้อมูลและการรับรู้แบบไม่รู้สึกตัวต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

นิตยา โรจน์ทินกร. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและพฤติกรรมการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตเชียงใหม่.

วราภรณ์ สัตยวงศ์. (2550). การพยาบาลกล้ามเนื้อหัวใจตามเฉียบพลัน. ในคณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก (บรรณาธิการ) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเล่ม 4 . (พิมพ์ครั้งที่ 9).นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

ศรัณย์ ควรประเสริฐ. (2547). แนวทางการรักษา Acute coronary Syndrome (ACS).ใน อภิชาต สุคนธสรรพ์และศรัญย์ ควรประเสริฐ(บรรณาธิการ), HEART: Cardiac Diacnosis and Theatment. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : ไอแอมออเกไนเซอร์แอนด์แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2552). รายงานการสาธารณสุขไทย 2548- 2552.[ ออนไลน์ ]. สืบเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2557 จาก, https://moph.go.th.

อภิชาต สุคนธสรรพ์. (2543). โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี. เชียงใหม่ : ไอเด็นติตี้กรุ๊ป.

อุไร ศรีแก้ว. (2543). การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ : การดูแลอย่างต่อเนื่อง. สงขลา: ภาควิชาการพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

House, J.S. (1981). Work stress and social support. California: Addison-Wesley.

Lazarus, R. S. & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal and coping. New York: Springer Publishing.Mishel, M. H. (1988). "Uncertainty in illness". Image: Journal of Nursing Scholaship, 20 (4) : 225- 232.

Whitehead D.L. Strike P., Perkins-Parras L, Steptoe. (2005). "A. Frequency of distress and fear of dying during acute coronary syndrome and consequences for adaptation". American Journal of Cardiology. 96 (11) : 1512-1516.

World Heart Organization [WHO]. (2014). Cardiovascular diseases (CVDs). [Online]. Retrieved August 19, 2015, from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/index.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30