การพัฒนาโปรแกรมการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลหัวหน้าเวร ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สมฤดี กีรตวนิชเสถียร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร และศึกษาผลของโปรแกรมโดยการเปรียบเทียบทักษะการจัดการความขัดแย้งของพยาบาลหัวหน้าเวรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีประสบการณ์การทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 20 คน เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาโปรแกรมการจัดการความขัดแย้ง ระยะที่ 2 การทดสอบโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมการจัดการความขัดแย้งและแบบประเมินทักษะการจัดการความขัดแย้ง เครื่องมือได้รับการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

                ผลการศึกษาพบว่า ก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการความขัดแย้งพยาบาลหัวหน้าเวรมีทักษะการจัดการความขัดแย้งอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =8.45 , S.D.= 4.67) ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความขัดแย้ง พยาบาลหัวหน้าเวรมีทักษะการจัดการความขัดแย้งอยู่ในระดับสูง (x̄=16.6, S.D.= 3.10) ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการความขัดแย้ง พยาบาลหัวหน้าเวรมีทักษะการจัดการความขัดแย้งโดยรวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการความขัดแย้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t=9.22) ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมไปใช้ในการพัฒนาทักษะการจัดการความขัดแย้ง ให้แก่พยาบาลหัวหน้าเวร เพื่อช่วยให้พยาบาลหัวหน้าเวรสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กรพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

References

จันทร์ยงค์ ลิ้มวนานนท์. (2551). การจัดการความขัดแย้งภายในโรงพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ชมพูนุท ทิพย์ฝั้น. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาล หัวหน้าเวร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุมพร ฉ่ำแสง. ( 2552). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการตัดสินใจทางการบริหารการพยาบาลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสาหรับผู้บริหารหอผู้ป่วยศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ควรคิด. (2555). ผลของโปรแกรมการแก้ไขความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อประสิทธิผลของทีมการพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2550). การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. เชียงใหม่: ช้างเผือก.

Adler, R. B., & Elmhorst, J. M. (2005). Communicating at work: Principles and practices for business and the professions. New York: McGraw-Hill

Dessler, G. (1997). Human resource management. New Jersey: Prentice-Hall.

Grohar-Murray, M. E., & DiCroce, H. R. (1992). Leadership and management in nursing. Norwalk, Conn: Appleton & Lange.

Thomas, K. W., & Kilmann, R. H. (1974). Thomas-Kilmann Conflict Mode Instrument. Mountain View, CA: XICOM. Incorporated.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30