ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา แดงน้อย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของการเสริมพลังอำนาจและการทำงานเป็นทีมกับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 90 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจ 3) แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และ 4) แบบสอบถามการคงอยู่ในงาน เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน  ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ 1.00, 1.00 และ 0.99 ตามลำดับ  และหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามรายข้อกับนิยามตัวแปร ได้ค่าเท่ากับ 0.89, 0.94 และ 0.95 ตามลำดับ และหาค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.954, 0.936 และ 0.902 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยการเสริมพลังอำนาจ (x̄= 3.69, S.D.=0.592) และการทำงานเป็นทีมโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄= 3.87, S.D.=0.701) การคงอยู่ในงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.40, S.D.=0.935) การเสริมพลังอำนาจและการทำงานเป็นทีมสามารถร่วมทำนายการคงอยู่ในงานได้ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการคงอยู่ในงานได้ร้อยละ 57.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้มีการรักษาบุคลากรพยาบาลวิชาชีพ โดยการพัฒนาศักยภาพด้านการเสริมพลังอำนาจและการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงาน โอกาสในงานปัจจุบัน โอกาสเข้าถึงการสนับสนุนในงานปัจจุบัน และโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ มีคุณค่า มีความก้าวหน้าในการงาน และยังคงอยู่ในวิชาชีพต่อไป

References

กฤษดา แสวงดี. (2551).การศึกษาอุปทานกำลังคนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย.นนทบุรี:สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กฤษดา แสวงดี, ทินกร โนรี, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล และ นงลักษณ์ พะไกยะ. (2552). สุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. [ออนไลน์].สืบค้นวันที่ 26 มิถุนายน 2558. จาก https://www.thainursecohort.org/webhtml/proposal.pdf.

จิรัชยา เจียวก๊ก. (2556). การคงอยู่และความตั้งใจลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดลฤดี รัตนปิติภรณ์.(2553). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพญาไท.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บงกชพร ตั้งฉัตรชัย,บุญทิพย์ สิริธรังสี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล และ วิไลพร รังควัต.(2554). ทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550).ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.(2551).ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลศตวรรษที่ 21 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเอื้อ โจว. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ: ศึกษากรณีวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ประคอง กรรณสูตร. (2542).สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร:ด่านสุทธาการพิมพ์.

ประชิด ศราธพันธุ์, วราพร หาญคุณะเศรษฐ์, และจารุนันท์ ศรีจันทร์ดี. (2552).สาระสำคัญที่ดึงดูดใจให้พยาบาลคงปฏิบัติงานอยู่ในไอ.ซี.ยู.องค์กรพยาบาลที่ดี..มีดีไซด์. โครงการประชุมวิชาการ ประจำปี 2552. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.

วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี. (2555). "ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย".วารสารสภาการพยาบาล, 27(1): 5-12.

วิจิตรา กุสุมภ์, อรุณี เฮงยศมาก, รวีวรรณ ศรีเพ็ญ, สัมพันธ์ สันทนาคณิต, ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ, ภัสสร ขำวิชา และรัตนา จารุสุวรรโณ. (2555). ประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:สหประชาพาณิชย์.

แววดาว อินทบุตร์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การพัฒนาบุคลากร การทำงานเป็นทีมกับ ผลผลิตของงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรินทร อริยะเครือ. (2553). การให้อำนาจในงานการพยาบาล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยและความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ศิริพร จิรวัฒน์กุลและคณะ. (2555). คุณภาพชีวิตกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพและความคิดคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร. สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.

ศิริพงษ์ สุนทรวัฒนกิจ. (2554). ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์การศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานในธุรกิจ wedding studio ในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกุลนารี เวทยะเวทิน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจ ลักษณะงาน กับความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสมร เรืองวรบูรณ์. (2544).ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยการทำงานเป็นทีมของทีมสุขภาพ กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์ ท้าวคำลือ. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cowin, L.S. (2002). "The effects of nurses' job satisfaction on retention: an Australian perspective". Journal of Nursing Management. (32) : 283-291.

Kanter, R. M. (1993). Men and women of the corporation. New York : Basic Books.

_______. (1997). Frontiers of management. Boston : A Harvard Business Review Book.

Kudo, Y., Satoh, T., Hosoi, K., Miki, T., Wanatabe, M., Kido, S., & Aizawa, Y. (2006). "Association between intention to stay on the job and job satisfaction among Japanese nurses in small and medium-sized private hospitals". Journal of Occupational Health. 48(6) : 504-513.

Gomez, C., & Rosen, B. (2001). "The leader-member exchange as a link between managerial trust and employee". Group & Organization Management. 26(1) : 53-70.

Gibson, C. H. (1995). "The process of empowerment in mothers of chronically ill children". Journal of Advanced Nursing. (21) : 1201-1210.

Laschinger, H. K. S., Wong, C., McMabon, L., & Kaufmann, C. (1999). "Leader behavior impact on staff nurse empowerment, job tension, and work effectiveness". Journal of Nursing Administration. 29(5): 28-39.

Laschinger, H.K., Finegan, J., &Shamian, J.(2001). "The impact of workplace empowerment, organizational trust on staff nurses' work satisfaction and organizational commitment". Health Care Manage Rev. 26(3): 7-23.

Laschinger, H. K.S.,Finegan, J. E., Shamian, J., & Wilk, P.(2001). "Impact of structural and psychological empowerment on job strain in nursing work settings: expanding Kanter's model". Journal of Nursing Administration. (31): 260-72.

Laschinger, H. K. S., Finegan, J. E., Shamian, J., & Wilk, P. (2004). "A longitudinal analysis of the impact of workplace empowerment on work satisfaction". Journal of Organizational Behavior. (25) : 527-545.

McCloskey, J.C.,& Maas, M. (1998). "Interdisciplinary team: The nursing perspective is essential". Nursing Outlook. 46(4) : 157-163.

Nies, M.A., Hepworth, J. H . & Fickens , S. (2001)."An interdisciplinary team approach to nursing scholarship". Journal of Nursing Administration. 31(9): 411-413.

Taunton R. L., Krampitz, S. D., & Woodss, C. Q. (1989). "Manager impact on retention of hospital staff: Part2". Journal of Nursing Administration. 19(4): 15-19.

Torrington, D. H. L. & Taylors. (2002). Human resource management. (5 ed). Harlow : Prentice Hall.

Tourangeau, A. E., & Cranley, L. A. (2006). "Nurse intention to remain employee : Understanding and strengthening determinants". Journal of Nursing Administration. 55(4) : 497-509.

Upenieks, V. V. (2005). "Recruitment and Retention Strategies: A magnet hospital prevention model". Med Surg Nursing.(4): 21-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30