การพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ จั่นศิริ

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันการจัดการความรู้ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรต่างๆ  ของทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะฝ่ายการบริหารนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญจึงนำการจัดการความรู้มาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานคุณภาพ แต่การจัดการความรู้ภายในองค์กรที่ศึกษายังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน                               

        การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและประเมินความเป็นไปได้ในการนำการจัดการความรู้ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 30 คน ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ถูกเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ใช้แบบประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีจำนวน 16 ข้อ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.92 และหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.33 ซึ่งหาได้จากการนำแบบประเมินความเป็นไปได้ไปให้พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลรามคำแหง จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้

          1. การจัดการความรู้ที่ได้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) ด้านการผลิตความรู้ 5 กิจกรรม 2) การเก็บรักษาความรู้ 5 กิจกรรม 3) การเผยแพร่ความรู้ 3 กิจกรรม และ 4) การนำความรู้ไปใช้ 3 กิจกรรม รวม 16 กิจกรรม

          2. ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำการจัดการความรู้ไปใช้ พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำความรู้โดยรวมไปใช้ในระดับมาก (x̄= 3.78 ,  S.D. =0.57) ในรายขั้นตอนทั้ง 4 และในรายข้อทุกข้อ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมากเช่นกัน

          ผู้บริหารควรนำการจัดการความรู้ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติจริง  มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนอย่างสมบูรณ์

References

เจษฎา นกน้อย.(2552). นานาทรรศนะการจัดการความรู้และสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

ประภาพรรณ อบอุ่น. (2555). การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งความสุข:แนวคิด และบทเรียนจากกรณีศึกษา.กรุงเทพมหานคร:พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

เยาวลักษณ์ สงวนพานิช. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาด้านบริการพยาบาลในโรงพยาบาลนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Alavi,M., Dotothe,E,.(1997). Knowledge management systems: theory and practice. Thomson Learning, Berkshire House: London.

Holbeche, L. (2011). "GP consortia: navigating ambiguity to produce greater public value". Perspectives in Public Health. 131 (3): 131-6.

Senge,P. (2007). The practice of innovation. Leader to Leader. (9):16-22.

Swee C. Goh, (2003) "Improving organizational learning capability: lessons from two case studies", The Learning Organization. 10(4) : 216 - 227.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30