ปัจจัยทำนายการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ของประชาชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี๊ย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติและการใช้วัฒนธรรมสุขภาพ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 321 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 49 คน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม การวิจัยเอกสาร และกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ส่วนใหญ่มีความรู้ เจตคติ และการใช้วัฒนธรรมสุขภาพในการเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (ค่าเฉลี่ยความรู้ ร้อยละ 65.2 ค่าเฉลี่ยเจตคติ = 2.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.66 และค่าเฉลี่ยการใช้วัฒนธรรมสุขภาพ = 2.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63 ตามลำดับ) อายุเฉลี่ย ระดับความรู้ และระดับเจตคติเกี่ยวกับการใช้วัฒนธรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพเบื้องต้นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value = 0.014 0.000  และ 0.000 ตามลำดับ) ทั้งนี้การใช้ประโยชน์วัฒนธรรมสุขภาพต้องก่อเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม  และการวางแผนการสร้างเสริมกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชนและแนวคิดวัฒนธรรมสุขภาพ กระบวนการเหล่านี้จะส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของประชาชน

References

คณะกรรมการลุ่มน้ำปิงตอนบน.(2554). โครงการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง. เอกสารอัดสำเนา.

เนตรดาว ธงซิว,หรรษา เศรษฐบุปผา และชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ .(2554)."ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาในการดูแลสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคติดสุรา". พยาบาลสาร. 38 (3): 111 - 132.

พัทยา นีละภมร. (2550). โครงการฟื้นภูมิปัญญารักษาสุขภาพ.เชียงใหม่ : โครงการนวัตกรรมการบริการสุขปฐมภูมิ.

วิเชียร ไทยเจริญ.(2547).อัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของแพทย์พื้นบ้านภาคใต้ กรณีศึกษาแพทย์พื้นบ้าน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. บทคัดย่อและบทสรุปผลงานวิชาการ การประชุมวิชาการและชุมนุมการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี.กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

สามารถ ใจเตี้ย,สิวลี รัตนปัญญา และสมชาย แสนวงศ์.(2555). "ประสิทธิภาพบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ : สมุนไพรและโภชนาการบำบัด". วิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 14(1) : 57 - 65.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. (2556). สถานการณ์ด้านสุขภาพจังหวัดลำพูน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559, จาก https://www.lamphunhealth.go.th/cd/main.html.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3th ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

David, R. Wessner. (2008). The wisdom of whores: Bureaucrats, brothels and the business of AIDS. W. W. Norton & Co., New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30