การเปลี่ยนแปลงสังคมวัฒนธรรมทางการแพทย์ของสยามใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๖: วิเคราะห์ผ่านโรคห่าและไข้ทรพิษ
บทคัดย่อ
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเสนอประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางสังคมวัฒนธรรม ที่เป็นผลมาจากการจัดการของรัฐต่อโรคระบาดครั้งสำคัญ ๒ ช่วง คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ภายหลังจากเกิดโรคห่าระบาด และในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ภายหลังจากเกิดไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษระบาดขึ้นทั่วพระนคร พบว่าการจัดการในช่วงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อยู่ในรูปแบบการย้ายถิ่นฐานอพยพหลบหนีไปจากบริเวณที่มีโรคระบาด ส่งผลโดยตรงทำให้เกิดการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ส่วนการจัดการในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ดำเนินการภายหลังจากโรคฝีดาษระบาด ได้แก่ การจัด ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยตรงสะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญกับการแพทย์ของรัฐอโยธยา ที่ต้องการสร้างพลเมืองใหม่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เพื่อเป็นกำลังแก่บ้านเมือง
References
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (๒๕๓๕). แนวคิดไทยเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. (๒๕๔๔). คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษามหาราชา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์และมูลนิธิภูมิปัญญา.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๔๔). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.
ทวีศักดิ์ เผือกสม. (๒๕๕๐). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม : ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๔๕). "สถานะขององค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขไทย วาระการวิจัยและแนวทางการศึกษาในอนาคต" ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และชาติชาย มุกสง (บก.). (๒๕๔๕). พรมแดนความรู้ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ประทีป ชุมพล. (๒๕๔๑). ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย การศึกษาจากเอกสารตำรายา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประมูลธนรักษ์, พระยา. (๒๕๕๑). "จดหมายเหตุโหรฉบับพระยาประมูลธนรักษ์" ใน ประชุมจดหมายเหตุโหรรวม ๓ ฉบับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ต้นฉบับ.
ลาลูแบร์, ซิมองต์ เดอ. (๒๕๑๐). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๔). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม ๒ พงศาวดารเหนือฉบับพระวิเชียรปรีชา (น้อย). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๗). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๑๖). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๕๕). คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม : เอกสารจากหอหลวง. นนทบุรี : โครงการเลือกสรรหนังสือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิลปากร, กรม. (๒๕๕๖). "การแพทย์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ" ใน นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๔). อยุธยายศยิ่งฟ้า : ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
โหราธิบดี, พระ. (๒๕๔๔). พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.
Brun, Viggo. (2015). "Traditional Thai Medicine" in Selin Helaine. (ed.). (2015). Medicine Across Cultures : History and practice of medicine in non-Western cultures. Dordercht : Kluwer Acedemic publishers.
Pombejra, Dhiravat na. (1992). Court, Company and Campong : Essays on the VOC presence in Ayutthaya. Pra nakorn Sri Ayutthaya : Ayutthaya Historical Centre.
Reid, Anthony. (1988). Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680 : Volume One : The lands below the winds. New Haven and London : Yale University Press.