เปรียบเทียบผลการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอส และคลื่นอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ เพิ่มเพ็ชร์ นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อเอ็นข้อไหล่อักเสบ, โปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด, แบบประเมินดรรชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอส (TENS) และคลื่นอัลตร้าซาวด์ที่มีต่อดรรชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่ ในผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน กลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอสและกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับอัลตร้าซาวด์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินดรรชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่ โปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทีและสถิติเอฟ ผลการวิจัยพบว่ามีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของดรรชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่ ภายหลังการรักษาทั้ง 3 กลุ่ม (p<0.05) และ เมื่อเปรียบเทียบดรรชนีความเจ็บปวดและการสูญเสียสมรรถภาพของหัวไหล่ระหว่างกลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอสกับ กลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอสกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับอัลตร้าซาวด์ สรุปว่าการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ ด้วยการรักษาตามมาตรฐานร่วมกับกระแสไฟฟ้าทีอีเอ็นเอสให้ผลดี เมื่อเทียบกันทั้งสามกลุ่ม งานวิจัยนี้จะทำให้นักกายภาพบำบัดสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบต่อไป

References

ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. (2560). อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู.จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(2),205-221

Baker, K.G., Robertson, V.J., Duck, F.A. (2001). A review of therapeutic ultrasound : biophysical effects. Physical Therapy. 81(7), 1351-1358.

Calis, H.T., Berberoglu, N., Calis, M. (2011). Are ultrasound, laser and exercise superior to each other in the treatment of subacromial impingement syndrome. European Journal of Physical and Rehabilitation Medicine, 47(3), 375-380.

Cook, J.L., Purdam, C.R.(2009). Is tendon pathology a continuum. A pathology model to explain the clinical presentation of load-induced tendinopathy. British Journal of Sports Medicine, 43(6), 409-416.

Desmeules, F., Boudreault, J., Roy, J.S., Dionne, C.E., Fremont, P. & MacDermid, J.C. (2016) Efficacy of transcutaneous electrical nerve stimulation for rotator cuff tendinopathy: A systematic review. Physiotherapy J, 102, 41-49

Drew, B., Smith, T., Littlewood, C., Sturrock, B. (2012). Do structural changes explain the response to exercise in tendinopathy. A systematic review. British Journal of Sports Medicine, 48(12), 966-972.

Lisa, D.A., David, R.D., Derek, R.B., Janet, L.B., & Pamela, E.H. (2010). Exposure to low amounts of ultrasound energy does not improve soft tissue shoulder pathology : A systematic review. Physical therapy J, 90(1), 14-25.

Maitland GD. (1991). Peripheral manipulation. (3rd ed.). Oxford: Butterworth Heinemann

Pinar, D.A., Berrin, L. & Mehmet, A. (2015). Effects of therapeutic ultrasound and exercise on pain, function and Isokinetic shoulder rotator strength of patients with rotator cuff disease. Journal of Physical therapy science, 27(10), 3113-3117.

Pushpa, R., Vasantha K., Tarun G., Rajkumar Y., & Rakhi, M. (2019). Effect of transcutaneous electrical nerve stimulation therapy on pain and functional disability level among patients with rotator cuff disease. International Jounal of Physiotherapy, 7(1), 7-13.

Sevtap, G.U., Derya, O.K., Yasemin, K., et all. (2018). Comparison of different electrotherapy method and exercise therapy in shoulder impingement syndrome. Acta Orthopaedical Traumatologica Turcica, 52(4), 249-255.

Simpson, P.M., Fouche, P.F., et all. (2014). Trancutaneous electrical nerve stimulation for relieve acute pain in the prehospital setting. A systemic and meta-analysis of randomized controlled trials. Europe Journal Emergency Medicine, 21(1), 10-17.

Stuart, R.H.,Steve R.W., & Dave P.T. (2017).Comparison of three types of exercise in the treatment of rotator cuff tendinopathy/shoulder impingement syndrome:A Randomized controlled trial. Physiotherapy Journal, 103(2), 167-173.

Sluka, K.A., Walsh, D. (2003). Transcutaneous electrical stimulation : basic science mechanisms and clinical effectiveness.Journal of Pain, 4(3), 109-121.

Yazmalar, L., Sariyildiz, M.A., BatmazI, et all. (2016). Efficiency of the therapeutic ultrasound on pain, disability, anxiety, depression, sleep and quality of life in a patients with subacromial impingement syndrome. A randomized controlled study. Journal of back and Musculoskeletal Rehabilitation, 29(4), 801-807.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-04