การใช้ข้อมูลสารสนเทศจากการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อวางแผนการเงินส่วนบุคคล

ผู้แต่ง

  • อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนมีหนี้สินสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) การไม่มีความรู้พื้นฐานทางการเงินที่เพียงพอ 2) ทัศนคติต่อการใช้เงินที่ไม่ถูกต้อง และ 3) การเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่าย ดังนั้นครัวเรือนต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล โดยให้ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อสรุปรายรับ รายจ่าย เงินสดคงเหลือ สินทรัพย์ และหนี้สินส่วนบุคคล และนำข้อมูลสารสนเทศจากการทำบัญชีครัวเรือนมาวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลอันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทาง การเงิน 4 ประการ ได้แก่ 1) การวาง   แผนการเงิน เพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน 2) การวางแผนการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิต  3 ) การวางแผนการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และ 4) การป้องกันและบริหารความมั่งคั่ง ทั้งนี้แต่ละบุคคลอาจจะกำหนดเป้าหมายทางการเงินแตกต่างกันตามสถานภาพทางการเงินของตนเอง

           การวางแผนการเงินได้นำหลักวงจรคุณภาพมาใช้กำหนดขั้นตอนในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล กำหนดแนวทางการนำข้อมูลสารสนเทศจากการทำบัญชีครัวเรือนมาใช้ วางแผนการเงินส่วนบุคคลซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางแผนเกี่ยวกับเงินสดและสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง 2) การวางแผนเกี่ยวกับเครดิตส่วนบุคคล 3) การวางแผนเกี่ยวกับการประกันชีวิตและสุขภาพ 4) การวางแผนเกี่ยวกับการลงทุนของบุคคล และ 5) การวางแผนการเงินสำหรับการปลดเกษียณ

References

กระปุกดอทคอม. (2559). หอการค้าเผย หนี้ครัวเรือนคนไทยพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์-ชำระหนี้น้อยลง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2559, จาก https://money.kapook.com/view128400.html.

คม ชัด ลึก. (2559). หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสวนเงินออมห่วงสินเชื่อบุคคล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2559, จาก https://www.komchadluek.net/detail/20150305/202439.html.

ชาญชัย ตั้งชู . สถานการณ์ทางการเงินของคน และแนวทางการแก้ไขปัญหา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2559, จาก www.codfa.org/private_folder/situation- money.doc.

ธนาคารเกียรตินาคิน. (2559). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559, จาก https://www.kiatnakin.co.th/knowledgedetail.php?id=17.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2557). การจัดการการเงินครัวเรือนเพื่อสุขภาพการเงินชุมชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน 2559, จาก https://www.baac.or.th/km/wp-content/uploads/2015/01/A1-04-09-57-2.pdf.

นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร. (2550). "บัญชีครัวเรือน: เครื่องมือสู่เศรษฐกิจพอเพียง". วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15 (3) :25 -29.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). "บัญชีครัวเรือน เรื่อง ใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม". วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7 (1) : 20-28.

ภัทราจิตร แสงสว่าง และศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2558). ความสัมฤทธิผลของการบริการวิชาการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต กรณีการทำบัญชีครัวเรือน บ้านนาเรืองน้อย ตำบลนาเรือง เภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและองค์กรภาคี. (2556). สมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2559, จาก https://www.govesite.com/uploads/201312181854364ac0yKN/store/20131219212148fAXw97a.pdf.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และนิศรา จันทร์เจริญสุข. (2556). "การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน". วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 7 (1) : 23 - 36.

วิสิฐ ตันติสุนทร. (2559). รู้รอบด้าน การวางแผนการเงิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2559, จาก https://www.ncb.co.th/PDF/Financial%2065-88.pdf.

ศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. (2551). การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. หลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559, จาก https://www.set.or.th/yfs/main/download/ YFS2016_YFSCamp_Reading_FinancialPlanning.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). หนี้สินครัวเรือน : ผลกระทบระดับประเทศ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2559, จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_58.jsp.

Lawrence J. Gitman and Michael D. Joehnk. (2008). Personal Financial Planning. 13 ed ition. USA. : Nelson Education Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30