การศึกษารูปแบบการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณ ในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นไทย

ผู้แต่ง

  • ศศิธร รุจนเวช มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นไทยโดยประยุกต์แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างบ้านวัดโรงเรียนและชุมชน กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนเทศบาล ครู ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุข พระ ผู้ปกครองนักเรียนแกนนำสุขภาพนักเรียน มารดาวัยรุ่น จำนวน 30 ราย ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 - เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้างที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณประกอบด้วยการร่วมมือกันระหว่าง บ้าน วัดโรงเรียนและชุมชน โดยครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่ ให้ความรัก เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ วัยรุ่น ปลูกฝังกิจกรรมทางศาสนาในการถ่ายทอดจิตวิญญาณโดยการพาไปทำบุญ ใส่บาตร ฟังธรรมะ และการทำสมาธิตั้งแต่วัยเด็กโรงเรียนจัดกิจกรรมที่เน้นคุณธรรม จริยธรรมและทักษะชีวิตในการเผชิญปัญหา การทำสมาธิก่อนเรียน จัดโครงการค่ายพัฒนาจิต วัดมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการสอนและจัดกิจกรรมทางศาสนาการรักษาศีล บรรยายธรรมะ สอนการเจริญสติเพื่อทำให้เกิดปัญญาและนำมาซึ่งความผาสุกทางจิตวิญญาณ ผู้วิจัยเสนอแนะว่ารูปแบบการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณแบบมีส่วนร่วมนี้ควรมีการนำไปใช้ในชุมชนอื่นที่มีบริบทใกล้เคียง เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นได้อย่างยั่งยืน

References

ชนิดา มัททวางกูร สมพร เตรียมชัยศรี อาภาพร เผ่าวัฒนาและ พรพิมล จันทนะโสตถิ์. (2549). "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความผาสุกทางจิตวิญญาณกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาสตรีแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร".วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 20 (1), 35-50.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์ แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ทัศนีย์ ทองประทีป.(2552).จิตวิญญาณมิติหนึ่งของพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรพชิต โพธิ์บอน.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประเวศ วะสี.(2553). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง.นนทบุรี: กรีน-ปัญญาญาณ.

พระราชธรรมนิเทศ. (2555). บรมธรรม.นนทบุรี: ชนากานต์ พริ้นติ้ง.

ฟาริดา อิบราฮิม. (2534). เรื่องของจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์

มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ.(2551).การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมหลักการและภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3) .กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต. (2544). “การมีสติในทุกขณะคือ....” หมอชาวบ้าน, 22(261), 14-16.

รณัชกาญจน์ ประกอบธัญญะศิริ. (2556). "ยุทธศาสตร์การสร้างมาตรการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในเด็กวัยเรียน" . ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร . 15(2) : 93-105.

ระวีวรรณ ดนัยดุษฎีกุล. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเพศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รินธรรม อโศกตระกูล. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวคิดของชาวอโศก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอก โรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิโรจน์ อารีย์กุล. (2553). การดูแลสุขภาพและการให้คำแนะนำวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:กองทุนกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.

ศศิธร รุจนเวช กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร และอุษา ตันทพงษ์ .(2558). "ความต้องการด้านจิตวิญญาณในการป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสในวัยรุ่นไทย".วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 90-102.

ศศิธร จารย์คูณ วาสนา สวัสดี สมจิตร แม่นจันทร์และสุกันยา พรมแดน. (2558). "การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลคูเวียง อำเภอคูเมืองจังหวัดบุรีรัมย์". วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24(1) : 14-23.

สัจจา ทาโต . (2550). "การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย". วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.1(2) :19-30.

สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์.(2559). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559,จาก https://www.rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index.

อัจฉรา ชัยชาญ อมร สุวรรณนิมิตรและสุภาพร อาญาเมือง.( 2556). "แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเยาวชน". วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 9,วันที่ 12 -13 กันยายน 2556. (9) : 659-666.

Bussing, A., Foller-Mancini, A., Gidley, J., & Heusser, P. (2010). "Aspects of spirituality in adolescents". International Journal of Children's Spiritualit. 15(1) : 25-44.

Chamratrithirong, A., et al. (2010). "Spirituality within the family and the prevention of health risk behavior among adolescents in Bangkok, Thailand". Social Science & Medicine. (71) : 1855-1863.

Haglund, K. A., & Fehring, R. J. (2010). "The association of religiosity, sexual education, and parental factors with risky sexual behaviors among adolescents and young adults". Journal of Religion and Health, 49(4), 460-472. doi: 10.1007/s10943-009-9267-5.

Highfield, M. F., & Carson, V. B. (1983). " Spiritual need of patient. Are they recognize". Journal of Cancer Nursing. 5(5) : 187-192.

Kang, P.P., & Romo, L.F. (2011). "The role of religious involvement on depression, risky behavior, and academic performance among Korean American adolescents". Journal of Adolescent, 34(4) : 767-78.

Roojanavech, S., Badr, L K., & Doyle, J. (2016) . "What variables including spirituality determine early sexual initiation among Thai adolescent". Mental Health and Addiction Research. 1(2) : 6-10.

Smith, W. E. (2009). The creative power: Transforming ourselves, our organization and our world. New York: Rout ledge.

Spurr, S., Berry, L., & Walker, K. (2013). "The meanings of older adolescents attach to spirituality". Journal for Specialists in Pediatric Nursing. 18(3) : 221-232.

Supametaporn, P., Stern, P.N., Rodcumdee, B., & Chaiyawat, W. (2010). "Waiting for the right time: How and why young Thai women manage to avoid hetero sexual intercourse". Health Care for Women Internationa. (31) : 737-754.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30