สมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จีราภร ธรรมศรีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) ด้วยการใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi techniques) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนด สมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการพยาบาล  เวรตรวจการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยง และอาจารย์พยาบาลผู้มีความชำนาญเกี่ยวกับพยาบาลพี่เลี้ยงจำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง และแบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ซึ่งได้ตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.89  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS คำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อให้ได้ฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี มี 4 สมรรถนะได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล 2) ด้านบทบาทความเป็นครูผู้สอน ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุน 3) ด้านภาวะผู้นำเชิงการบริหารจัดการ 4) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบงานและเทคโนโลยีสารสนเทศจากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลควรกำกับดูแลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพและฝึกอบรมของโรงพยาบาลนำข้อมูลจากผลการวิจัยไปจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้สอดคล้องกับ สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับพยาบาล พี่เลี้ยง โดยนำข้อคิดเห็นที่มีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดในแต่ละด้านจัดลำดับความสำคัญของการจัดการอบรม

References

จรรยา จารโยภาส. (2540). บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงตามการรับรู้และความต้องการของผู้บริหารการพยาบาลและพยาบาลประจำการของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ดารินทร์ ลิ้มตระกูล. (2557). องค์ประกอบสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ันทวัน ดาวอุดม. (2550). องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสา ทมาภิรัต. (2556). ประสบการณ์การเป็นพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

น้ำฝน ทรัพย์ประเสริฐ. (2551). รูปแบบการพัฒนาพี่เลี้ยงโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรางกูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญรักษ์ สุธาชัย. (2555). การพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลพยาบาลมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ปาจรีย์ เที่ยงเจริญ. (2555). ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในฐานะหัวหน้าทีมการพยาบาล โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาเรียม เพราะสุนทร, อารีย์วรรณ อ่วมตานี.(2550). ประสบการณ์การเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2551). "การปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงของพยาบาลวิชาชีพ".วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2 (2) : 15-23.

__________. (2552).ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลพี่เลี้ยงในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารสภาการพยาบาล. 24(3 ) : 56-69.

วัลลภา บุญรอด. (2548). "การเป็นพยาบาลพี่เลี้ยง คือกระบวนการสู่การพัฒนาตนเอง และการสร้างสรรค์ความเป็นวิชาชีพ". วารสารพยาบาลกองทัพบก. 6(2) : 7-18.

สภาการพยาบาล. (2555). สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 จาก methawipublichealth.blogspot.com/2012/09/blog-post_383.html.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยคุณภาพ : การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สุดจิต ไตรประคอง, ชุลีกร แสนสบาย และ อุรา แสงเงิน. (2551). " ผลของระบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง และความพึงพอใจต่อพยาบาลพี่เลี้ยง ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์" . สงขลานครินทร์เวชศาสตร์. 26(2) : 163-172.

หน่วยพัฒนาและฝึกอบรมทางการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (2550). สรุปประเมินผลพยาบาลพี่เลี้ยงของงานการพยาบาล . (เอกสารอัดสำเนา)

อรชร ภาศาสวัต. (2553).การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, California : Addison - Wesley.

Billay, D.B. &Yonge.O. (2004). "Contributing to the development of preceptorship".Nurse Education Today: 24(7) : 566-574.

Carr, R. (1999). Achieving the Future :the role of mentoring in the new millennium. Mentor Peer Resources. [Online] . Retrieved May 22, 2003, From https://www.mentors.ca.

Chamberlain, S., Sttengrevics, S.S., & Alpert, H. (1990). " Mentorship: A relationship for professional Development". Advancing Professional Nursing Practice. 9(7) : 182-189.

Dracup, K., & Brown, W.B. (2004). " From novice to expert to mentor: Shaping the future" . American Journal of Clinical Care. (13) : 448-453.

Fawcett, D. (2002). "Mentoring-what it is and how to make it work" . AORN Journal. 75(5) :950-954.

Fey, M. K., &Miltner, R. S. (2000). "A competency-based orientation program for new graduate nurse". Journal of Nursing Administration. 30(3) : 126-132.

Lewis, G. (2000). The mentoring manager "Strategies for Fostering Talent and Spreading knowledge" London: Pearson Education Limited.

Macmillan, Thomas. T. (1971)."The Delphi Technique". U.S. Department of Health Education & Welfare office of education.

Morton-Cooper, A., & Palmer, A. (2000). Mentoring, preceptor ship and clinical Supervision : A guide to professional roles in clinical practice . (2 ed.). London: Blackwell Science.

Vanderbilt Medical Center. (2002). Preceptor development tools . [Online]. Retrieved August 27, 2004. From https://www.vanderbiltchildrens.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30