ภาระในการดูแลกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุปราณี แตงวงษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายระหว่างภาระในการดูแลผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้ดูแลหลัก และดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้านในเขต จังหวัดนครปฐม  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด  จำนวน 250 ราย  เครื่องมือประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ วุฒิการศึกษา รายได้ โรคประจำตัว เครื่องมือแบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL - BREF -THAI ประกอบด้วยข้อคำถาม 2 ชนิด คือ แบบภาวะวิสัย (Perceived objective) และอัตวิสัย (Self-report subjective)จะประกอบด้วยองค์ประกอบของคุณภาพชีวิต 4 ด้าน จำนวน 26 ข้อ และแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ของ Steven H. Zarit and Judy M. Zarit (1986)  ซึ่งประกอบไปด้วยข้อคำถาม 22 ข้อ ประกอบไปด้วยประสบการณ์ความเครียด 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย (หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อหาอำนาจการทำนายของภาระหนักในการดูแลผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ

           ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยของภาระหนักในการดูแลผู้สูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x̄= 0.90,  S.D.= 0.57 )  คุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (x̄= 3.15, S.D.= 0.79) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแลผู้สูงอายุโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับเล็กน้อยกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (r = .154) และอำนาจในการทำนายของภาระในการดูแลผู้สูงอายุสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุได้ร้อยละ 18.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .01) จากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อสรุปว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นสถานบริการที่อยู่ในชุมชนและมีความใกล้ชิดกับครอบครัวมากที่สุด การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีระบบบริการที่เอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อกับการดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย  การฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุ  การตรวจวินิจฉัยโรค  การดูแลระยะสุดท้าย การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเชิงรุก  รวมทั้งจัดอัตรากำลังที่เพียงพอต่อการให้บริการของสถานบริการปฐมภูมิ จะช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในครอบครัวและในชุมชน ซึ่งจะช่วยลดภาระและผลกระทบของผู้ดูแลและครอบครัวได้ 

References

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ รัชนี สรรเสริญ และ วรรณรัตน์ ลาวัง. (2554). "การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง". วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 4(1) : 62 - 75.

ทีปประพิน สุขเขียว. (2543). การสนับสนุนทางสังคมกับภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทุลภา บุปผาสังข์. (2545). ภาระและความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลกับการเข้ารักษาซ้ำของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธงชัย คูเพ็ญวิจิตตระการ. (2553). บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. รายงานการศึกษาอิสระ. หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี และคณะ. (2554). "ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของชุมชนเขตเมือง. Journal of Nursing Science. 29 (Suppl2) : 67-74.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล. (2544). การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล. (2548). การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548 - 2568. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิทยาภรณ์ นวลสีทอง ประณีต ส่งวัฒนา และสุดศิริ หิรัญชุณหะ. (2549). "อาการเหนื่อยล้าและการจัดการอาการเหนื่อยล้าของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล". สงขลานครินทร์เวชสาร. 24(3) : 153-161.

ฟาริดา อิบราฮิม. (2539). ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและผู้ดูแล. ใน ฟาริดา อิบราฮิม (บรรณาธิการ), ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและและภาระผู้ดูแล. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญ-พาณิชย์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที คิว พี จำกัด.

ยุพาพิน ศิริโพธิ์งาม. (2539). "ญาติผู้ดูแลที่บ้าน : แนวคิดและปัญหาในการวิจัย". รามาธิบดีพยาบาลวารสาร. 2(1) : 84-93.

รุ่งนภา เขียวฉะอ่ำ. (2552). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมต่อการปรับตัวเพื่อเผชิญปัญหาของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เล็ก สมบัติ. (2549). โครงการภาวการณ์ดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวในปัจจุบัน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศากุล ช่างไม้ และคณะ. (2554). ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม.

ศิราณี ศรีหาภาค โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณิศร เต็งรัง. (2556). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. รายงานผลการวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สถาบันวิจัยสาธารณสุข. (2550). การคาดประมาณแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจยสาธารณสุข.

สถิติข้อมูลจังหวัดนครปฐม. (2550). จำนวนประชากรจำแนกตามหมวดอายุ เพศ พ.ศ. 2548 จังหวัดนครปฐม. นครปฐม : ฝ่ายทะเบียน.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2536). การดูแลตนเอง : ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร.วิศิษฎ์สิน.

สุปราณี แตงวงษ์. (2550). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและสังคมพฤฒพลัง. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. นครปฐม : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม.

สุพรรณษา วังคีรี. (2552). บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทยโครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 จาก , https://www.dmh.go.th/test/whoqol/.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 จาก , https://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/themes/theme_2-1-1.html .

อรนุช ธรรมสอน และคณะ. (2546) . "ความต้องการพึ่งพาของผู้สูงอายุตอนปลายและปัจจัยด้านประชากรที่เกี่ยวข้อง". วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 23(3 ) : 1-15.

อัมพรพรรณ ธีรานุตร และคณะ. (2544). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Brown, P. L. (1991). "The burden of caring for a husband with alzheimer's disease". Home Healthcare Nurse. 9(3) : 33-38.

Bull, M. J. (1990). "Factors influencing family caregiving burden and health". Western Journal of Nursing Research. 12(3) : 758-776.

Gaynor, S. E. (1990). "The long haul : the effects of home care on caregivers". Image: Journal of Nursing Scholarship. 22(1) : 208-212.

Kamel, A.A., Bond, A.E., and Froelicher, E.S. (2012). "Depression and caregiver burden experienced by caregivers of Jordanian patients with stroke". International journal of nursing practice.18(2) : 147-154.

Klein, S. (1989). "Caregiver burden and moral development". IMAGE: Journal of Nursing Scholarship. 21(2) : 94-97.

Kosberg, J. C., Cairl, K., & Keller, D. M. (1990). "Components of burden: Interventive Implication". The Gerontologist. 30(1):236-242.

Lawton, M. P., Kleban, M. H., Moss, M., Rovine, M., & Glicksman, A. (1989). "Measuring caregiving appraisal". Journal of Gerontology. 44(2) : 61-67.

Lefley, H. P. (1987). Impact of mental illness in families of mental health professionals. Journal of Nervous and Mental Disease, 175, 613-619.

Matthis, E. J. (1991). Top 20 educational wants of current family caregivers of disabled adults. Home Healthcare Nurse, 9(3): 23-25.

Miller, B., McFall, S., & Montgomery, A. (1991). "The impact of elder health, caregiver involvement, and global stress on two dimensions of caregiver burden". Journals of Gerontolog. 16(1) : 9-19.

Montgomery, R. I. V., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. P. (1985). "Ceregiving and the experience of subjective and objective burden". Family Relation. 34(2) : 19-26.

Montgomery, R. J. V., Stull, D. E., & Borgatta, E. F. (1985). "Measurement and the analysis of burder". Research on Aging . 7(1) : 137-152.

Padilla, G.V. & Grant, M. (1985). "Quality of life as a cancer nursing outcome variable". Advances in Nursing Science. 8(1) : 45-60.

Poulshock, S.D., & Demling, G.T. (1984). " Families caring for elders in residence: Issue in measurement of burde"r. Journals of Gerontology. 39(2) : 230-239.

Reinhard, S. C. (1994). "Living with mental illness: Effects of professional support and personal control on caregiver burden". Research in Nursing & Health, 17(3), 79-88.

Steven, H. Zarit and Judy, M. Zarit (1986). "Subjective burden of husbands and wives as caregivers : A longitudinal study". Gerontologist. 26(2) : 260-266.

Tamayo, S.E., et al. (2010). WCaregiver burden and health-related quality of life among Japanese stroke caregiver". Age and Aging. 32(2) : 218-223.

Tessler, R. C., Killian, L. M., & Gubman, G. (1987). "Stages in family response to mental illness: An ideal type". Psychosocial Rehabilitation Journal. 10(4) : 3-16.

Thompson, E. H., & Doll, W. (1982). "The burden of families coping with the mentally ill: An invisible cries". Family Relations. 31(1) : 379-388.

Vitaliano, P. P., Young, H. M., & Russo, J. (1991). " Burden: A review of measures used among caregivers of individuals with dementia". The Gerontologist. 31(2) : 67-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30