ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยาและพยาบาลเฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมอง 18คน โดยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตามทฤษฎีของมิเชล
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเห็นต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตามกรอบทฤษฎีของมิเชลทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านที่มีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านความคลุมเครือเกี่ยวกับภาวะความเจ็บป่วย(ค่ามัธยฐานเป็น 4.36 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เป็น 0) รองลงมาคือ ด้านการขาดข้อมูลที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย (ค่ามัธยฐานเป็น4.38 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เป็น 0.25) ด้านการไม่สามารถทำนายการดำเนินโรคและพยากรณ์โรค (ค่ามัธยฐานเป็น 4.44 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เป็น 0.25) และความซับซ้อนของการรักษาและการดูแล (ค่ามัธยฐานเป็น 4.42 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เป็น 1) ดังนั้นควรนำผลงานวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบโดยเฉพาะด้านความคลุมเครือเกี่ยวกับภาวะความเจ็บป่วยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลเพื่อลดความความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแล
References
ธิดารัตน์ อภิญญานิตยา พันธุเวทย์. (2556). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลกปี2556 (งบประมาน 2557). สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพ : เรือนแก้วการพิมพ์.
นิจศรี ชาญณรงค์ (สุวรรณา). 2550 . การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจพร รัตนปรีชากุล. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการลดความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
รสศุคณธ์ เจืออุปถัมย์. (2553). ความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, (2555). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2556 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.m-society.go.th/article_attach/11378/15693.pdf
ศุภวรรณ มโนสุนทร. (2554). รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
อิสรีย์ วีระเสถียร. (2555). คุณลักษณะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันและสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันตามแบบจำลองการเสริมแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อ้อฤทัย ธนะคำมา. (2553). ประสบการณ์การดูแลและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Mishel , M .H. . (1990). "Reconcept ualization of the Uncertainty in illness Theory" . Journal of Nursing Scholarship. 15(1) : 256-261.
Mishel, M. H. (1997). " Uncertainty in Acute Illness". Anual Review of Nursing Research. 15(1) : 57-76.
Yang, S. (2007). "A Mixed medthods study on the needs of Korean familied in the intensive care Unit". Australian Journal of advance nursing. 25(4) : 79-86.