ประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ที่แผนกผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เดชชัย โพธิ์กลิ่น มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ ที่แผนกผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์และแบบประเมินประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ หาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าเท่ากับ 0.92 และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินพบว่า ผู้ประเมินให้คะแนนไม่แตกต่างกัน ณ ระดับมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการบันทึกด้วยกล้องวีดีโอขณะเวรเช้าส่งเวรให้เวรดึกเท่านั้น ก่อนและหลังการจัดการการส่งเวรด้วย มเดลเอสบาร์และบันทึกในแบบประเมินประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ด้านความถูกต้องและความครบถ้วนของการส่งเวรอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=2.31, S.D.=0.57) ภายหลังการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ อยู่ในระดับสูง (x̄=3.80, S.D.=0.16) ประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรก่อนและหลังการจัดการด้วยโมเดลเอสบาร์    แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=15.25) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรนำการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ไปใช้ปฏิบัติจริงในแผนกผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลในเครือ

References

กุลวรี รักษ์เรืองนาม. (2553). ผลของการพัฒนาการรับ-ส่งเวรด้วย SBAR ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อความรู้และความสามารถในการรับ-ส่ง เวรของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์พยาบาล-ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

จินดา คูณสมบัติ. (2556). "พัฒนารูปแบบการส่งเวรโดยใช้ SBAR ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่". วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. (4): 18-25.

จำเนียร คูห์สุวรรณ และนันทนา ชปิลเลส. (2550). ความต้องการข้อมูลในการส่งเวรระหว่างพยาบาลในการเปลี่ยนเวร และระหว่างหน่วยงาน ตามแนวทาง SBAR: โรงพยาบาลนพรัต-นราชธานี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558, จาก https://www.nopparat.go.th/km/create_blog/nopparat/1272857554.doc.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ได อินเตอร์ มีเดีย. เอส. พี. เอ็น.

พัชรี ลักษณะวงศ์ศรี. (2553). การสื่อสารกับสหวิชาชีพด้วย SBAR เทคนิค. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558, จาก https://competencyrx.com.

สายทิพย์ ไชยรา. (2554). การพัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสกลนคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2551). Patient safety goals: simple. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.

อิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2557). การหาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity index). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2, จาก https://sites.google com/site/stats2researchs/student-of-the-month/johndoe.

Berlo, D.K. (2009). The process of communication. [Online]. Retrieved August 15, 2015, from https://puvadon.multiply. com/journal/item/4.

Joint Commission Accreditation of Healthcare organization [JCAHO]. (2000). Sentinel event alert: Fatal falls. [Online]. Retrieved August 14, 2015, from https://joint commission.org/SentinelEventAlert/sea14.htm.

Joint Commission International. (2014). Joint Commission International Accreditation Standards for Hospitals. 5 Ed. April 1, 2014. A division of Joint Commission Resource, Inc.

Kathleen, M.H. Becker, K.L, Rose, L.E, Berg, J.B, Park, H, Shatzer, J.H. (2006). The teaching effectiveness of standardized patients. Journal of Nursing Education. 45(4): 103-11.

Karima, V.G., Ross, B., Carol, F., Angle, A., Nancy, B.,Gaetan, T., Elaine,. A., & Lynne, S. (2008). "Effectiveness of an adapted SBAR communication tool for a rehabilitating setting". Healthcare Quarterly. (11): 72-78.

Leonard, M. (2009). Creating a culture of safety. Colorado patient safety coalition. [Online]. Retrieved August 14, 2015, from https://www.ihi.org.

McClelland, L. E., Switzer, F. S., & Pilcher, J. J. (2012). Changes in nurses'decision making during a 12-h day shift. Occupational Medicine. (63): 60-65.

Oakes, S.L., et al. (2011). "Transitional care of the long-term care patient". Clinics in Geriatric Medicine. 27(2): 259-271.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31