ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตในตำรวจชั้นประทวน

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ พันธุ์โพธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

         ตำรวจชั้นประทวนเป็นอาชีพที่ปฏิบัติงานเพื่อดูแลทุกข์สุขและความปลอดภัยของประชาชน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงและความกดดันสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตได้ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของตำรวจชั้นประทวน กลุ่มตัวอย่างคือ ตำรวจระดับชั้นประทวน ในจังหวัดระยอง จำนวน 110 คนคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป แบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว และแบบประเมินพลังสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟ่าครอนบาคอยู่ระหว่าง .80-.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะสุขภาพจิตในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.57 (S.D. = 3.42, range = 0-20) แสดงถึงกลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพจิตดี ความเครียดจากการทำงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด (Beta = .221, p < .05) และความผูกพันในครอบครัว เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลลำดับที่สอง (Beta = -.202, p < .05) ตัวแปรทั้งสองนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของภาวะสุขภาพจิตได้ร้อยละ 12.10 (R = .121, Adjust  R = .105, F= 10.15, p < .01) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าความเครียดจากการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของตำรวจชั้นประทวน พยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลด้านสุขภาพจิตและจิตเวชต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินภาวะสุขภาพจิต คัดกรองและค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ให้บริการใกล้ชิดกับประชาชน

References

กรมสุขภาพจิต. (2549). โปรแกรมประเมินพลังสุขภาพจิต 20 ข้อ และ 50 ข้อ. สำนักพัฒนา สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กีรติ จงแจ่มฟ้า และอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2558). การเปลี่ยนแปลงสุขภาพจิตของผู้กำลังย้ายถิ่นผู้ย้ายถิ่นกลับและผู้ไม่ย้ายถิ่น. ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558. การประชุมวิชาการระดับชาติ, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนิดาภา ปราศราคี. (2550). ปัจจัยด้านจิตสังคมและความเครียดจากการทำงานของตำรวจจราจรในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ตริตาภรณ์ สร้อยสังวาล. (2552). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของข้าราชการตำรวจในเขตจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และชัชวาล ศิลปะกิจ. (2545). แบบสอบถาม Thai General Health Questionnaire. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558. จาก https://www.dmh.go.th/test/download/files/ghq.pdf.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ฉบับที่ 4 2547. (2547, 14 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 121

พลากร ดวงเกตุ. (2553). ภาวะสุขภาพจิตของประชากรวัยแรงงานไทย พ.ศ. 2553. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์, สาขาประชากรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรา จารุโรจน์จินดา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประชากรศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วัชรินทร์ กระแสสัตย์, วรรณี เดียวอิศเรศ, จินตนา วัชรสินธุ์. (2554). "ความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีครอบครัว ความผูกพันในครอบครัว กับความเข้มแข็งทางใจของวัยรุ่น จังหวัด พระนครศรีอยุธยา".วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2) : 59-69.

วิถี ภูษิต. (2547). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนสังกัดสถานีตำรวจนครบาลในเขตกรุงเทพมหานคร". เวชสารแพทย์ตำรวจ, 84-95.

ศรีวิภา ชมมาลี. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับภาวะสุขภาพจิตของผู้ว่างงาน ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2558). รายงานผลการศึกษาสาเหตุการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558. จาก https://www.research.police.go.th/index.php/datacenter/research/-/321/file.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). วัยแรงงานมีสภาวะเครียด แนะใช้วิธี 4 ส 1 ตำรวจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน จาก ttp://www.thaihealth.or.th/Content/2817820.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สรุปสำหรับผู้บริหารการสำรวจสุขภาพจิตกับการยายถิ่นของประชากร พ.ศ. 2554. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558. จาก https:/service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/mentalHealthMigrant54.pdf.

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์และปัญญา ชูเลิศ. (2552). การศึกษาเพื่อการเฝ้าระวังบทบาทและหน้าที่ของครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางประชากรและสังคม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัจฉรา จรัสสิงห์และเนตรชนก บัวเล็ก. (2545). "สุขภาพจิตของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย", 10(3) : 161-169.

Cooper, C. L., El-betawi. M. A., Kalomo R. (1987). Psychosocial factor at work and their relation to health. Geneva: World health organization

Friedman, M. M. (1992). Family Nursing. New York: Appleton Century Croft.

Grotberg, H. E. (2005). Resilience for tomorrow. Retrieved from https://www.resilinet.uiuc.edc/library/grotberg2004_children-caregives-chian.pdf.

Haines, S. C. (2003). Police stress and effect on the family. E. M. U. School of police staff and command.

Resnick, M. D., Harris, K.M., & Blum, R. w. (1997). "The impact of caring and connectedness on adolescent health and well-being". Journal of Pediatrics and Child Health, 29(1): 3-9.

Robbins, Stephen P. and Judge, Timothy A. (2009). Organizational Behavior. 13 ed.New Jersey: Prentice Hall.

World Health Organization. (2014). Mental health. [Online]. Retrieved November 11, 2015, from https://www.who.int/topics/mental_health/en/.

Yixin, H., Dawei, W., Guangxing, X., & Ping, X. (2014). "The relationship between work stress and mental in medical workers in east china". Social Behavior & Personality: An International Journal, 42(2): 237-244.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31