ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร กับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรกับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลปัจจุบันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ในโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 200-400 เตียง ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียรสัน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุแบบหลายขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานโดยรวมมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.64, S.D.= 0.14) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการคงอยู่ในงานในระดับปานกลาง (r = 0.520, p  0.001) 2) ความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมมีค่าระดับ คะแนนเฉลี่ยระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=3.15, S.D.=1.10)  และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการคงอยู่ในงานในระดับปานกลาง  (r=0.685, p   0.001) 3) การคงอยู่ในงานโดยรวมมีค่า   ระดับคะแนนเฉลี่ยระดับปานกลาง  (gif.latex?\bar{x}=3.45, S.D.= 0.94) 4) ปัจจัยทำนายพบว่าความผูกพันด้านบรรทัดฐานทาง    สังคม ปัจจัย การสร้างความสุขในการทำงานด้านความสุขขององค์กรและสังคม ด้านจิตใจและอายุ  สามารถทำนายการคงอยู่ในงานได้โดยสามารถทำนายความแปรปรวนของการคงอยู่ได้ร้อยละ 55.40 (adjusted R2 = 0.554) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 จากผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารการพยาบาลควรจัดโปรแกรม และกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรซึ่งจะมีผลให้พยาบาลวิชาชีพคงอยู่ในงานต่อไป

References

กัลยา วานิชช์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธนสาร.

กฤษณี ก้อนพิงค์. (2552). ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกตุมนัส เมธีกสิวัฒน์, (2555). ความสัมพันธ์ของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องานและองค์การกับความตั้งใจลาออกของพนักงานในธุรกิจโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

จาริณี ศรีประเสริฐ. (2550). เจตคติต่อการคงอยู่ในงาน บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงการรับรู้ การควบคุมการคงอยู่ในงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติย-ภูมิเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

นภาพร รักผกา และจินต์จุฑา รอดพาล. (2554). "การใช้โปรแกรมพัฒนาจิตลักษณะต่อพฤติกรรมการทำงานด้วยหัวใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา". วารสารวิชาการสาธารณสุข, 20(5) : 789-799.

นภาพร รักผกา และจินต์จุฑา รอดพาล. (2554). "ความสุขในการทำงาน : มุมมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา". วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 1(2) : 175-182.

นัทธี เอี่ยมอ่อน. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กรและการรับรู้เกี่ยวกับภาระงานที่ได้รับมอบหมายกับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลยันฮี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

บงกชพร ตั้งฉัตรชัย. (2554). "ปัจจัยการทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข". วารสารสภาการพยาบาล, 26(4) : 43-54.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2553). ระเบียบวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะ ปิยะวรรณศิริกุล. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงทนการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลเทพปัญญา. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยอร ลีระเติมพงษ์. (2552). ความสุขในการทำงานของพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ ฮอร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าแบบอิสระมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชพร รุ่งโรจน์วิทยา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วรรณี วิริยะกังสานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศิริพงษ์ สุนทรวัฒนกิจ. (2554). ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรการศึกษา เฉพาะกรณีพนักงานในธุรกิจ Wedding studio ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมสมัย สุธีรศานต์ และจินตนา วรรณรัตน์. (2551). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออก โยกย้ายของพยาบาลวิชาชีพฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ". วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20(2) : 145-159.

สุรีย์ ท้าวคำลือ. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allen, N.T., & Meyer, J.P. (1990). "Organizational socialization tactics: a longitudinal analyses of links to new comers' commitment and role orientation". Academy of Management Journal, (33) : 847-858.

Arnold, Hugh J., Feldman and Daniel C., (1982). A multivariate analysis of the determinants of jobturnover. Journal of Applied Psychology, 67(3), 350-360. Retrieved June 25, 2012. From psycnet.apa.org./journals/ap/67/3/350.

Boonchong Chawsithiwong. (2007). "ความสุขในที่ทำงาน (Happy workplace) ". วารสารพัฒนาสังคม. 9(2) : 61-91.

Manion, J.(2003). Joy at Work : Reating a Positive Workplace. "Journal of Nursing Administration". (33) : 652 - 655.

__________(2003). Joy at Work: As Experienced, As Expressed. Dortor of Philosophy in Human and Organizational Systems. University of Michigan.

Meyer, J. P., Allen, N. J. (2007). " Meyer and Allen Model of organization commitment: measurement Issues". The Icfai Journal of organization Behavior, 4(6) : 7-24.

__________(1991). " A three - component conceptualization of organizational commitment". Human resource management review. 1(1) : 61-89.

__________(1997). Commitment in the work place. Theory research and application. Sage.

__________(1997). Commitment in the theory research, and application. Sage.

Michaels,C.E., and Spector,P.E. . (1982). "Causes of Turnover: A test of Mobly,Grieffeth,Hand, and Meglino Model". Journal of Applied Psychology. (67) : 53-59.

Neuhauser, P.C. (2006). Building a high-retention culture in healthcare. Journal of Nursing Management.32(9): 470.

Steers, Richard M. and Porter Lyman W. (1991). Motivation and Work Behavior. 5 Ed. New York : McGraw-Hill press.

Steers, R.M. (1977). Organizational effectiveness. California : Goodyear Publishers Inc. Taunton, R.L., Krampitz, S.D., & Woods, C.Q. (1989). "Manager impact on retention of hospital staff: Part 2". Journal of Nursing Administration. 19(4) : 15-19.

Warr. (2007). Work, Happiness and Unhappiness. [Online] Retrieved July 23 , 2555 from https://books.google.co.th/books?id=NtaQMZX5Hk0C&pg=PA203&hl=th&source=gbs_toc_r&cad=4#v=onepage&q&f=false.

William,L.J.,and Hazer,J.T. (1989). "Antecedent and consequence of satisfaction and commitment in turnover Model : A Reanalysis Using Talent Variable Structural Equation Methods". Journal of Applied Psychology. (71) : 219-231.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31