ผลของการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พัชรี แวงวรรณ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองมหาสารคาม จำนวน 8 คน และผู้สูงอายุในชุมชน  สามัคคี จำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนกลุ่ม ซึ่งกำหนดการเล่นไว้ 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน จำนวน 18 ครั้ง ครั้งละ 1-11/2 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Wilcoxon Signed Ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิตสูงขึ้นหลังการเล่นอังกะลุง โดยใช้กระบวนการกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง  สถิติ (p< .05) และพบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองมหาสารคามก่อนและหลังการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนการกลุ่ม มีความ  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ส่วนคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชุมชนสามัคคี ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเล่นอังกะลุงแบบใช้กระบวนการกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) 3) ไม่มีความแตกต่างของคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิต  ภายหลังการเล่นอังกะลุงโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ระหว่างผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองมหาสารคามและผู้สูงอายุในชุมชนสามัคคี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำ  ผลวิจัยไปใช้ว่า 1) ควรมีการพัฒนาการเล่นอังกะลุงอย่างต่อเนื่องที่จะเพิ่มคุณค่าในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) ควรมีการทำวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มกลุ่มควบคุม 3) ควรมีการศึกษาการเล่นอังกะลุงที่อาจส่งผลต่อคุณค่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง

References

กาญจนา อินทรสุนานนท์. (2545). สารานุกรมดนตรีและเพลงไทย. กรุงเทพฯ : พัฒนา.

คานธี ชาบุญยาว. (2012). "การออกแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย". วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 7(1) : 1845-1857.

ธรรมรุจา อุดม. (2547). ประสิทธิผลของโปรแกรมนันทนาการโดยการเล่นอังกะลุงในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุมหาวิทยาลัยบูรพา.

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

ปริญญา แก้วทนงค์ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และสุภัทรา แก้วชาญศิลป์. (2551). "ศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี". วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 9(3): 45-55.

ผกาวรรณ บุญดิเรก. (2548). "ดนตรีบำบัด". วารสารศิลปกรรมศาสตร์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. (ฉบับปฐมฤกษ์) : 26 -29.

พัชรี แวงวรรณ. (2554). ผลของกิจกรรมการเล่นอังกะลุงร่วมกับการใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุใน บ้านพักคนชรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี แวงวรรณ. (2554). "ผลของกิจกรรมการเล่นอังกะลุงร่วมกับการใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา". วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 12(2) : 15-28.

เรวดี สุวรรณนพเก้า และรศรินทร์ เกรย์. (2554). "คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี". วารสารประชากร. 2(2) : 33-54.

วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). การสูงวัยของประชากรไทย พ.ศ. 2557 (Population Aging in Thailand, 2014) พฤษภาคม 2557. มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

สุภาวดี พุฒิหน่อย หทัยชนก อภิโกมลกร วรรณนิภา บุญระยอง เพื่อนใจ รัตตากร และจิรนันท์ ไข่แก้ว. (2546). ผู้สูงอายุกับกิจกรรมบำบัด. ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ศูนย์การพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โสภา พรรณรัตนัย และเฉลิมพล ธนะนพวรรณ. (2555). ทางเลือกวัยสูงอายุ อยู่ดีชีวิตมีคุณภาพ (senior living). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ผลสรุปที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร.

อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). "คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่". Veridian E-Journal, Silapakorn University 2011. (4) : 1-9.

American Music Conference. (2007). Scientific study indicates that music making makes the elderly Healthy. [Online]. retrieved on 7 June 2014, from:https://www.amc-music.com/musicmaking/ wellness/elderly.htm.

Buckwalter, K., Harthock, J. & Gaffney, J. (1985). Music therapy nursing intervention: Treatment for nursing diagnosis. Philadelphia : W.B. Saunder.

Cooper, S. (1981). Self-esteem inventories. San Francisco: Consulting Psychologist Press.

Corey, M. S. & Corey, G.(2006). Group process and practice group. 7 ed . The united states of American: Thomson Learning, Inc.

Kraus, R. & Shark, J. (1992). Therapeutic recreation service. 4 ed. IA : Wm. C. Brown.

McClelland, K. A. (1982). " Self-conception and life satisfaction: Integrating aged subculture and activity theory". Journal of Gerontological Nursing. (37) : 723-732.

Winningham, R. G., & Pike, N. L. (2007). A cognitive intervention to enhance Institutionalized older adults' social support networks and decrease loneliness. Aging and Mental Health. 11(6) : 716-721.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31