การสื่อสารการตลาดดิจิทัล : กลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความได้เปรียบ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ นัทธีศรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, การสื่อสารการตลาดของสถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

          การสื่อสารการตลาดดิจิทัล เป็นการผสมผสานความรู้ในลักษณะสหสาขาวิชาระหว่างศาสตร์ด้านการสื่อสารการตลาด กับเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำ "ข้อมูล ข่าวสาร" ขององค์กรไปยัง "ผู้รับสาร" ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล บทความนี้ได้เสนอแนะว่า สถาบันอุดมศึกษาควร  "วิเคราะห์" การเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมี "นัยสำคัญ" เพื่อนำไปกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิทัล  ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยการสื่อสารการตลาดดิจิทัลด้านชื่อเสียง (Reputation)  อัตลักษณ์ (Identity) วัฒนธรรมองค์การ (Corporate culture) ความสัมพันธ์ (Relationship) การรับรู้แบรนด์ (Brand awareness) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) และความเป็นสากล (Globalization)  อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถาบันอุดมศึกษาในระยะยาว

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2559. นนทบุรี : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

นิติศาสตร์ เดชกุล. (2558). การศึกษาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของแบรนด์แฟชั่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุจกิมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อบริหารแบรนด์และการสื่อสารในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560, จาก https://www.prthailand.com/images/articles/160505-expertcommu-brand.pdf.

ภัทรวดี เหรียญมณี. (2558). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการค่ายมวย (Boxing Gym) เพื่อการออกกําลังกายในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2560). หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560,จาก https://admission.bu.ac.th/grad/index.php?option=com_ k2&view=item&layout=item&id=298&Itemid=1400.

วรมน บุญศาสตร์. (2558). "การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น ซีในยุคดิจิทัล". วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 1(1) : 14-30.

วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Howard University. (2517). HowardMobile application. [Online]. Retrieved March 10, 2017, from https://www.howard.edu/capstone/nov2012/universitynews.html.

Education Channel. (2017). The University of Tokyo. [Online]. Retrieved March 10, 2017, from https://www.youtube.com/watch?v=xpUTKDqbmHc.

Queen Marry University of London. (2017). Student Blogs. [Online]. Retrieved March 10, 2017, from https://blogs.studentlife.qmul.ac.uk/.

Seoul National University. (2017). Leading the Way SNU, The National University. [Online]. Retrieved March 10, 2017, from www.useoul.edu.

Wertime, K. & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The essential guide to new media & digital marketing. Singapore: John Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30