ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • สุพัฒนา คำสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางอารมณ์และตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตคณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้าง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะชีวิต พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย ตัวแปรสังเกตได้ 1 ตัว คือบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ตัวแปรแฝง 2 ตัว ได้แก่ ทักษะ ชีวิต และความฉลาดทางอารมณ์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีดัชนีความสอดคล้องได้แก่ CMIN/DF เท่ากับ 1.587, GFI เท่ากับ .984, AGFI เท่ากับ .949, RMSEA เท่ากับ .049 โดยตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ ได้ร้อยละ 70 ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรควรสนับสนุนให้มีชมรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้นิสิตแสดงความสามารถพิเศษ และพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมของชมรม นอกจากนี้ควรปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ และการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้นิสิตเรียนรู้ทักษะ ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นวิธีการสนับสนุนให้นิสิตมีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้น

References

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2547). อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2552). แผนกลยุทธ์กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. 2553-2556). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558, จาก www.sa.au.ac.th/2010/pdf/graduates.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). ก้าวสู่มาตรฐานการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

จิตติมา สังคพัฒน์. (2546). การศึกษาบุคลิกภาพแบบแสดงตัว-แบบเก็บตัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาแผนกวิชาเลขานุการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูศักดิ์ จันทร์ดวงโต และอาวีพร ปานทอง. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ ของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ, ภักดี ปรีวรรณ, และนราพร เล็กสุขุม. (2545). ผลของการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาตนด้านความฉลาดทางอารมณ์ (ดี เก่ง สุข) ตามแนวคิดของกรมสุขภาพจิตด้วยโปรแกรมการฝึกทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ และคณะ. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ปวิดา โพธ์ทอง, สุพัตรา พุ่มพวง และสุนทรี ขะชาตย์. (2554). "ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี". วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 22(2) : 1-14.

พรพรรณ ภูสาหัส และสมสุข ภานุรัตน์. (2559). "ความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิจิต ความเครียด และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลตำรวจ". วารสารพยาบาลตำรวจ. 8(1) : 145-152.

รุจน์ โรจน์อัศวเสถียร และมัลลิกา เทพวิชัยศิลปกุล. (2553).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียด ผลการศึกษาเฉลี่ย และผลการสอบวัดความรู้รวบยอดของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

ลักขณา เทศเปี่ยม. (2552). ความฉลาดทางอารมณ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลักขณา สริวัฒน์. (2545). สุขวิทยาจิตและการปรับตัว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. วาสนา แก้วหล้า และดวงรัตน์ แผ้วพลสง. (2545). ผลของการพัฒนาโปรแกรมทักษะชีวิตต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฏสุรินทร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วราภรณ์ อะทะวงษา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542). เชาวน์อารมณ์ (EQ) ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศมาภรณ์ แผนสมบูรณ์. (2548). ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดจันทรสโมสร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (วัยรุ่น-วัยสูงอายุ) เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สวนีย์ วีระพันธุ์. (2546). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทัศน์ สุรสหัสสานนท์.(2549). ผลของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี เทวฤทธิ์. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมจินดา ชมพูนุช และวรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. (2555). "พลังสุขภาพจิตความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย". วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 26(2) : 87-98.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา [สกอ.]. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางปฏิบัติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559, from https://www.education.mju.ac.th/fileDownload/222.pdf.

อมรรัตน์ ลือนาม และประภาศรี คุปต์กานต์. (2558). "ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ". วารสาร มฉก. วิชาการ. 18(36) : 151-170.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนการสอนแบบบูรณาการ คุณค่าของความเป็นมนุษย์โดยอิงแนวคิดการเรียนรู้จากการหยั่งรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2 ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Gibbs, P. (2001). Higher Education as a Market: A problem or solution? Studies in Higher Education, 26(1), 85-94. doi: 10.1080/03075070020030733.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. [Online]. Retrieved January 10, 2017, from https://www.stephanehaefliger.com/campus/biblio/017/17_39.pdf.

Kalyoncu, Z.,Guney, S., Arslan, M., Guney, S., and Ayranci, E. (2012). "Analysis of the relationship between emotional intelligence and stress caused by the organization: A study of nurse". Business Intelligence Journal. 5(2) : 334-346.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30