ผลของโปรแกรมในการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ชุมชนวัดภคินีนาถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รภัทภร เพชรสุข มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

โปรแกรมให้ความรู้, พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมในการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แนวคิดการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ และวงจรพัฒนาคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดภคินีนาถ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมในการให้ความรู้/ชุดของกิจกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ครั้งที่ 1 จะได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการรับประทานยา/การใช้ยา ครั้งที่ 2 จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและการออกกำลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยา/การใช้ยา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Paired t-test และ one-way anova โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างมีโรคอื่นร่วมด้วยคิดเป็นร้อยละ 73.3 ส่วนใหญ่โรคร่วม คือ โรคไขมันในหลอดเลือดสูง รองลงมาคือ โรคเบาหวาน เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการรับประทานยา/ใช้ยา ก่อนและหลังการทดลอง หลังการให้โปรแกรม 1 สัปดาห์ พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ระยะติดตาม 1 เดือน 2 เดือนและ 3 เดือน พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการออก    กำลังกาย พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการรับประทานยา/ใช้ยาไม่มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยใช้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่ปฏิบัติมาจนเป็นความเคยชินนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และต้องมีการสร้างความตระหนัก กระตุ้นให้เห็นถึงความรุนแรงของโรคอย่างต่อเนื่อง

References

กรรณิการ์ เทพกิจ. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนวัดภคินีนาถ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

แก้วตา ชึขุนทด. (2546). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์ และดวงกมล จันทร์นิมิต. (2542). สุขศึกษากับโรคความดันโลหิตสูง การทบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์และรูปแบบการให้บริการสุขศึกษา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม และสุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2556). "ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ". วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 31(4) : 97-104.

นาตยา ภมรเดชกุล. (2552). ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลสุขตนเองในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลโกรกพระ. วิทยานิพนธ์สาขาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นุชนาถ สำนัก มาเรียม แอกูยิ ตั้ม บุญรอด และกำไล สมรักษ์. (2554). "ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหลักกิโลสามตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช". วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(2) : 21-28.

ยุคลธร จิรพงศ์พิทักษ์. (2542). ผลได้ของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง.วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และพรพันธ์ บุญยรัตพันธุ์. (2549). การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว. (2548). ทฤษฏีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. โครงการตำรา ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วราลี วงศ์ศรีชา และอรสา กงดาล. (2555). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. Graduate Research Conference, 759-769.

วิริยา สุขวงศ์ ธนพร วรรณกูล และชลิดา โสภิตภักดีพงษ์. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุกัญญา คุขุนทด. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุรพล อริยะเดช. (2555). "ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกัน และควบคุมโรคเบหวานและความดันโลหิตสูงของข้าราชการอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง". วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 29(3) : 205-216.

สุปรียา ตันสกุล. (2548). ทฤษฏีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2550). การสาธารณสุขไทย 2551-2553. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2550). การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546-2547. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักนายกรัฐมนตรี.

อภิชาต เจริญยุทธ. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อมรา ทองหงษ์ กมลชนก เทพสิทธา และภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์. (2557). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

American Heart Association. (2003). Body mass index. [Online]. Retrieved July 6, 2004, from https://www.americanheart.org/presenter.jhtml?identifier=1158.

___________(2006). What is high blood pressure?. [Online]. Retrieved February 13, 2006, from https://www.americanheart.org/presenter.jhtml?identifier=2112.

Becker, M. H. (1974). "The health belief model and sick role behavior". Health Education Monographs. (2) : 25-32.

Becker, M.H. and Kirscht, J.P. (1974). "A new approach to explaining Sick-role behavior in low-income population". American Journal of Public Health.64(3) : 206.

Goldstein, L. B. et al. (2001). Primary prevention of ischemic stroke : A statement for healthcare professionals from the Stroke Council of the American Heart Association. Stroke, 281.

Greedy. (1986). "The Hale Elderly: Health Behavior and its Correlate," Research in Nursing and Health. 5(2) : 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30