การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา ศรีทอง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยว จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าค่าดัชนีความสอดคล้อง .981 และนำแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ไปทดลองใช้ได้ค่า ความเชื่อมั่น .89 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราในระดับมากทุกด้าน โดยพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (gif.latex?\bar{x}=3.15) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยว (gif.latex?\bar{x}=3.13) ด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน (gif.latex?\bar{x}=2.92) และด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก (gif.latex?\bar{x}=2.69) แนวทางการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศควรส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส   กับวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ และรักษาทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีความสะอาดและสวยงามโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวในเชิงลึก ตั้งแต่การวางแผนการท่องเที่ยวและการดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยว การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรท่องเที่ยวและพื้นที่อย่างคุ้มค่า มีการกำหนดช่วงเวลาและจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว อบรมให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก ควรมีแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวส่งเสริมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2549). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556, จาก https://www.tourism.go.th/2010/th/standard/view.php?ItemID=1617.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2556, จาก https://www.tourism.go.th.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : อัลชาจำกัด.

ไตรภพ โคตรวงษา ครรชิต มาระโภชน์ และชุติมา รุ่นประพันธ์.(2555). "แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา". วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 5(2) : 103-113.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี.(2556). "การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดนและบ้านปาหนัน อำเภอ ควนกาหลง จังหวัดสตูล". วารสารสุทธิปริทัศน์. 27(83) : 97-112.

วิภาดา มุกดา. (2557). "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก". วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10(3) : 55-74.

สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และกวิน วงศ์ลีดี. (2555). การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในประเทศไทย : กรณีศึกษาที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24, มีนาคม 2558, จาก https://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/655/1/071-55.pdf.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of psychological testing. New York: Harper and Row.

Lee, S. (2011). Carrying capacity of sustainable tourism based on the balance concept between ecological damage loading and recovery capacity. [Online]. Retrieved March 24, 2015, from: https://www.ics2011.pl/artic/SP64_1297-1301_L.Sungmin.pdf.

United Nations Environmental Programme. (2011). Tourism investing in energy and resource efficiency. [Online]. Retrieved June 3, 2015, from: https://www.unep.org/resourceefficiency/Portals /24147/scp/business/tourism/greeneconomy_tourism.pdf.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3 ed . New York. Harperand Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30