ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง สมรรถนะ ความเป็นมืออาชีพ และคุณภาพของรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง สมรรถนะ ความเป็นมืออาชีพ และคุณภาพของรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในด้านสมรรถนะ ด้านความเป็นมืออาชีพ และคุณภาพของรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักประเมินมูลค่าทรัพย์สินระดับชั้นวุฒิสูงที่ได้รับการประกาศโดยสมาคมวิชาชีพ จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling: SEM) เป็นสถิติประเภทตัวแปรพหุ (Multivariate Statistics) ที่บูรณาการเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะ ความเป็นมืออาชีพ และคุณภาพของรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยมีความมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย, สมรรถนะมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อคุณภาพรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยผ่านความเป็นมืออาชีพ โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผล ได้ร้อยละ 65 ข้อค้นพบจากการวิจัยองค์การทางการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นด้านการคัดเลือก การพิจารณาค่าตอบแทน การฝึกอบรม การประเมินผล โดยควรพิจารณาทั้งในด้านสมรรถนะหลักและความเป็นมืออาชีพสัมพันธ์กัน 2. สมรรถนะมีอิทธิพลโดยตรงต่อคุณภาพรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย, ความเป็นมืออาชีพ, ความเป็นมืออาชีพมีอิทธิพลโดยตรงต่อคุณภาพของรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของนักประเมิน
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). "Competency-Based Human Resource". วารสารคน. (21) : 11-22.
ทรงเดช ดารามาศ. (2551). "ความต้องการผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน". วารสารมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย. 7(2) : 10-11.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มต้นอย่างไร...เมื่อจะนำ COMPETENCY มาใช้ในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
นพรัตน์ โพธิ์ศรีทอง. (2550). รูปแบบสมรรถนะของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นิพัทธ์ จิตรประสงค์. (2534). กระบวนการการประเมินราคา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสงค์ ลำพูล. (2551). “ปัญหา-อุปสรรควิชาชีพการประเมินค่า”. วารสารมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย. 7(2) : 14.
ไพโรจน์ ซึ่งศิลป์. (2538). หลักการประเมินราคาทรัพย์สิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุธาศินฐ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2548). มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.
โสภณ พรโชคชัย. (2551). "วงการประเมินค่าทรัพย์สินเวียดนามนำไทยซะแล้ว". วารสารมูลนิธิประเมินค่ทรัพย์สินแห่งประเทศไทย. 7(1) : 16.
Dales, M. and Hes, K. (1995). Creating Training Miracle. Sydney : Prentice - Hall.
Kirschner, P A, Vilsterm, P, van Hummel, H and Wigman, M. (1997). " A study environment for acquiring academic and professional competence". Studies of Higher Education. (22) : 151-171.
Miller H. G. and Gallagher. K. R. (1997). Residential Real Estate Appraisal. New Jersey. Prentice Hall.
Ming Xuan Yu, Qin Yu YANG and Qiong WANG. (2006). Model Analysis of CPREAS' Core Competencies. CRIOCM 2006 International Symposium on Advancement of Construction Management and Real Estate, Beijing, China.
Rylatt, A. and Lohan, K. (1995). Creating training miracles. Sydney : Prentice Hall.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competence at work : Models for superior performance. New York : John Wiley and Sons.