การพัฒนาสารสนเทศออนไลน์เพื่อเป็นสื่อกลางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน การตลาดและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 2) เพื่อพัฒนาสารสนเทศออนไลน์ที่ใช้ในการจัดจำหน่ายและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 3) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าเยี่ยมชมหรือผู้ซื้อสินค้าผ่านทางสารสนเทศออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอองครักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 7 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ผลิตสินค้าและจัดจำหน่ายภายในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง บางรายขาดความรู้ด้านการตลาด หน่วยงานภาครัฐได้ให้การ    สนับสนุนผู้ประกอบการในด้านของการฝึกอบรมทางด้านต่างๆ 2) สารสนเทศออนไลน์ที่ใช้ในการจัดจำหน่ายและการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกโดยการประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเท่ากับ 0.843) ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มีความพึงพอใจต่อการใช้บริการเว็บไซต์ในภาพรวมที่ระดับค่อนข้างสูง (Mean = 4.57, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มีความพึงพอใจด้าน     คุณภาพของเนื้อหาในระดับที่สูงสุด (Mean = 4.63, S.D. = 0.52) รองลงมาคือด้านความพึงพอใจด้านการบริการ (Mean = 4.55, S.D. = 0.59) และด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ (Mean = 4.53, S.D. =0.61) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่าผู้ประกอบการควรรักษาคุณภาพของสินค้าและพัฒนารูปแบบของสินค้าให้มีความหลากหลาย ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมและการฝึกอบรมที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ

References

ซุซุมุ โอซากิ. (2547). สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กับการตลาด [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558, จาก www.cpd.go.th/download/article_01/OTOPrevise.doc.

ฐิติกร สายสุดตา. (2549). การศึกษากลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านทำกล้วยตาก บ้านท่ากกทัน ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558,จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_june_14/pdf/aw18.pdf.

บุณฑริกา นันทิพงศ์ และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2555). "พฤติกรรมผู้บริโภคกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร". วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ. 2(2) : 65-88.

ปรารถนาคงสำราญ. (2550). การศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานผักตบชวาบ้านมหานามในจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัชดาภรณ์ วุ่นแก้ว. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านเชิงธุรกิจชุมชน:การศึกษาผลิตภัณฑ์ดีเด่นใน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรารัตน์ สันติวงษ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารต่อการใช้บริการE-Banking. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุทธิสา สิงห์แรง และ วสันต์ กันอ่ำ. (2556) พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559, จาก www.research.rmutt.ac.th/?p=14549.

สุภาวรรณชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ และ สมโภชน์ ชื่นเอี่ยม. (2557). การสร้างเว็บไซต์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Lee, M., & Turban, E. (2001). "A trust model for consumer Internet shopping". InternationalJournal of ElectronicCommerce. 6(1) : 75-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30