โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงศ์ ทองพวง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ  ประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในด้านการนำองค์การ ด้านผู้ใช้บริการ ด้านระบบและกระบวนการ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าภาควิชา/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าหลักสูตร/หัวหน้าสาขาวิชา และตำแหน่งบริหารอื่นด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จำนวน 68 สถาบัน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 339 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling: SEM) เป็นสถิติประเภทตัวแปรพหุ (Multivariate Statistics) ที่บูรณาการเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ข้อค้นพบจากการวิจัย แสดงว่า 1. การนำองค์การ ผู้ใช้บริการ ระบบและกระบวนการ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กัน 2. การนำองค์การมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชน ( gif.latex?\beta  = 0. 42, p <.05), ลูกค้า  (gif.latex?\beta= -0.49, p <.05), ระบบและกระบวนการ (gif.latex?\beta= 0.35 p < . 05), ลูกค้ามีอิทธิพลโดยตรงต่อระบบและกระบวนการ (gif.latex?\beta= 0.67, p < .05), ประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชน (gif.latex?\beta= 0.58, p < .05), ระบบและกระบวนการมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชน (gif.latex?\beta= 0.67, p < .05), การนำองค์การมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชน ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกผ่านผู้ใช้บริการ (gif.latex?\beta= 0.57 , p < .05) ลักษณะที่ 2 ผ่านระบบและกระบวนการ (gif.latex?\beta= 0.29, p < .05) โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผล ได้ร้อยละ 65 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยควรมุ่งสร้างภาวะผู้นำการผ่านข้อมูลความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอก และการพัฒนาระบบและกระบวนการซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2560 จาก https://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560 จาก https://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Announcement/44.pdf.

ช่วงโชติ พันธุเวช. (2547). การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ : เพชรเกษมการพิมพ์.

ธวัช กรุดมณี. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริการการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของโรงเรียนประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขต ภาคกลางของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

ปิ่นปินัทธ์ นฤบากบุญทรัพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ภัธรภร ปุยสุวรรณ. (2557). "แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาของสมาคมผู้ปกครองและครูที่เหมาะสมกับสังคมไทย". สุทธิปริทัศน์. 28(87) : 345-367.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วสันต์ สัตยคุณ. (2555). "การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน". วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(1) : 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 2552-2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2552). สภาพปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สุกัญญา โฆวิไลกูล. (2547). การวิเคราะห์ระบบเพื่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์. (2549). รูปแบบความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เพื่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1991). Transformational Leadership Development: Manual for the MultifactorLeadership Questionnaire. Palo Alto, C.A.: Consulting Psychological Press.

Cooke, R.A. & Lafferty, J.L. (1989). Organizational culture inventory. Plymouth, MI: Human Synergistic.

Epstein, J. L. and Salinas, K. C. (2004). "Educational Leadership: Partnering with Families and Community." Schools as Learning Communities. 61(8) : 12-18.

Lado, A. A., Boud, N.G., and Wright, P. (1992). "A competency-based model of sustainable competitive advantage: Toward a conceptual integration." Journal of Management. 18 (1) : 77-91.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2008). "Educational administration: Theory, research, and practice, 8th edition." New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30