การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน

ผู้แต่ง

  • ธิรรัตน์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาค่าอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ระดับ  คือ ระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง MEP โรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 1,085 คน ครูต่างชาติที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ ห้อง MEP จำนวน 31 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความมั่นใจตนเองในการสื่อสารภาษาอังกฤษ  การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ ความยึดมั่นในองค์การ และความเป็นผู้นำทางวิชาการมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .800, .884, .838, .792, .873, .838 และ .770 ตามลำดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์พหุระดับรูปแบบชั้นลดหลั่นสอดแทรกเชิงเส้น (Hierarchical Linear Model) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรระดับนักเรียน คือ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความมั่นใจตนเองในการสื่อสารภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (gif.latex?\beta=3.844, gif.latex?\beta=2.826) ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 56.39 ตัวแปรระดับห้องเรียน  คือ การจัดการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (gif.latex?\beta=1.556) ทำนายได้ร้อยละ 53.38 2) ผลการทดสอบการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ พบว่า การจัดการเรียนรู้ และความยึดมั่นในองค์การส่งผลต่อค่าอิทธิพลของเจตคติ     ต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ (gif.latex?\beta= -1.137,   gif.latex?\beta=1.608) ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 13 การจัดการเรียนรู้  และความยึดมั่นในองค์การส่งผลต่อค่าอิทธิพลของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (gif.latex?\beta=   -0.955,  gif.latex?\beta=2.030) ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 29 ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอนต่อไป

References

ชบา พันธุ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาปฐมวัยคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2536)."โจทย์ปัญหาปัญหาโจทย์".วารสารคณิตศาสตร์. (37) : 10-17.

ทองพันธ์ ยงกุล. (2554). "การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดศรีสะเกษ".วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6(3) : 62-74.

ฐิติยา วงศ์วิทยานุกูล. (2555). "ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6". วารสารวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1) : 163-171.

น้อมศรี เคท. (2536). ประมวลบทความหลักสูตร: สาระร่วมสมัย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพิน พิพิธกุล. (2543). "การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์". วารสารคณิตศาสตร์. (ฉบับพิเศษ) : 1-10.

สมควร จำเริญพัฒน์. (2552). "รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2". วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(3) : 69-77.

สมพงษ์ สิงหะพล. (2547)."ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา".วารสารราชพฤกษ์. 3(1) :47-58

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/Summary ONETP6 _2559.pdf.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี. ถ่ายเอกสาร.

อภิญญา เวชยชัย. (2544). การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาการศึกษา : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Allen, N.J. & Meyer, J.P. (1990). "The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization". Journal of Occupational Psychology. 63(1) : 1-18.

Christopher Kirill Sokolov. (2017). TEACHER ENGAGEMENT IN GRADES 4-8. A dissertation for the degree of Doctor of Education. Graduate School of Education and Psychology. Pepperdine University .

Krashen, S.D. & Terrell, T.D.(1983). The natural approach: Language acquisition in the classroom. London:Prentice Hall Europe.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31