รูปแบบศูนย์จัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบศูนย์การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการดำเนินการวิจัยคือ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทรงคุณวุฒิแลนักวิชาการทางด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของศูนย์การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วยหน่วยข้อมูลสุขภาพ หน่วยจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและหน่วยข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหน่วยงานทั้ง 3 นี้จะทำงานสอดคล้องไปด้วยกันเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการครบทุกด้านแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) โดยการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์การจัดการท่องเที่ยว  เชิงสุขภาพจะดำเนินงานผ่านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ใช้ช่องทางของโซเชียลมีเดีย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ว่าการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยควรเน้นการ สร้างภาพลักษณ์ของการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างการกำหนดนโยบายของภาครัฐและการทำการตลาดของภาคเอกชน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). การจัดบริการในสถานประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559, จาก https://www.tourism.go.th/home/details/11/6/24051.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558, จาก https://www.tica.or.th.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพ.ศ. 2555 - 2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558, จาก https://www.senate.go.th.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรริทร์พริ้นแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). "การบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ". เทศภิบาล. 85(1) : 5.

ทิพย์วรรณ พุ่มมณี. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รามคำแหง.

ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

เทพศักดิ์ บุณยรัตน์พันธ์. (2536). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายการให้บริการแก่ประชาชนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

มนัส สุวรรณ. (2538). นิเวศวิทยากับการพัฒนาเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี'55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท . [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558, จากhttps://www.tourisminvest.tat.or.th.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). MEDICAL TOURISM ยังโตต่อเนื่อง…เปิดโอกาสโรงพยาบาลเอกชนขยายฐานลูกค้าต่างชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2559, จากhttps://marketeer.co.th/2016/03.

Carrera,P.M., &Bridges,J.F.P. (2006). "Globalization and healthcare: understanding health and medical tourist. Expert Review of Pharmacoeconomics and Outcomes Research. 6(4) : 447-454.

Chat Room Chat Room. (2556). ไทยขึ้นแท่นจุดหมายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2558, จาก https://news.voicetv.co.th/business/75204.html.

Moutinho, L. (2000). Strategic management in tourism . New York : CABI.

Swarbrooke, J. and Horner, S. (2007). Consumer Behavior in Tourism. New Delhi : Butterworth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31