ส่วนประสมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุภากาญจน์ ตโมนุทกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย  ส่วนประสมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการ วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ด้านสินค้า ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง ความรับผิดชอบต่อสังคมพบว่า ด้านความเป็นธรรม ด้านการรับผิดชอบ ต่อผู้บริโภค และด้านการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม อยู่ในระดับมากส่วนด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นของผู้บริโภค เกี่ยวกับความตั้งใจซื้อสินค้า จากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด ด้านสินค้า ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภค และความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความเป็นธรรม ด้านการรับผิดชอบต่อผู้บริโภค และด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภค ส่วนด้านการร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคมไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภค สำหรับผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ  เพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

References

กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัลยา วานิชย์ปัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติพร หล่อวณิชย์. (2550). การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคร้านขายของชำในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ณัฐพล เสตกรนุกูล. (2554). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้าปลีก: กรณีศึกษาร้านสุขเจริญผล. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณชา กาญจนมุสิก. (2554). การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิไลวรรณ ทิพวัง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าตลาดเกษตรมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สัญญ์ตรา จดจำ. (2556). แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560, จาก : https://uthaiacademy.wordpress.com/2013/05/09/แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกไทย.

หอการค้าจังหวัดตาก.(2560). แนวทางการปรับตัวของค้าปลีกท้องถิ่น เพื่อความอยู่รอด. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2560, จาก : https://www.takchamber.com/index.php?lay=show&ac=article&ld=313311&Ntype=3.

Ehrenberg. A. S. C. (1972). Repeat - Buying: Theory and Application.Amsterdum : North - Holland Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31