ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมโดยใช้แนวคิดการบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตาที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ศศิธร สุทธิสนธิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ความร่วมมือในการผ่าตัด, ทฤษฎีการบรรลุจุดมุ่งหมายของคิง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยที่มีต้อเนื้อตาที่มารับการผ่าตัดที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต้อเนื้อตา โดยใช้แนวคิดการบรรลุจุดมุ่งหมาย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ STAI Form X-1 และแบบประเมินความร่วมมือในการผ่าตัดของผู้ป่วยต้อเนื้อตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, t-test และ Repeated measures ANOVA

          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองในระยะก่อนได้รับโปรแกรมก่อนเข้าผ่าตัด และหลังได้รับโปรแกรม ลดลงตามลำดับ (p <.05) คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลภายหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) และคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการผ่าตัดในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05)

          ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารโรงพยาบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำรูปแบบในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อเนื้อตา โดยใช้แนวคิดการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย ลดความวิตกกังวลและเกิดความร่วมมือในการผ่าตัด

References

จันทร์เพ็ญ ผลวงษ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยสำหรับตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ตฤณ เสาทองหลาง. (2554). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงเดช ยศจำรัส. (2556). ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองและการตั้งเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนาวรรณ ศรีสกุลวงศ์. (2556). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยร่วมกับการให้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยต้อกระจกวัยผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา คชภักดี, สายฤดีวรกิจโภคาทร และมาลี นิสสัยสุข. (2531). แบบประเมินความวิตกกังวล. กรุงเทพมหานคร.

ปริศนา จิระชีวี. (2551). ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดและพฤติกรรมความร่วมมือในการปฏิบัติตัวขณะผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุที่ผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยนอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญนิตา ตันธุวนิตย์. (2549). ต้อเนื้อตากับวิทยาการการรักษาลดการกลับมาเป็นซ้ำ. วารสารศิริราชประชาสัมพันธ์, 19(267), 4.

สุเธียรนุช ศิรินันติกุล. (2557). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 10(1), 1-12.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). USA : Lawrence

Frey, and Maureen. (1995). Advancing king's systems framework and theory of nursing. Thousand Oaks: California : Sage.

Haugen, A. S., Eide, G. E., Olsen, M. V., Haukeland, B., Remme, A. R., & Wahl, A. K. (2009). Anxiety in the operating theatre: a study of frequency and environmental impact in patients having local, plexus or regional anaesthesia. Journal of Clinical Nursing, 18(16), 2301-2310.

John, T. (2008). Amniotic membrane transplant key to pterygium surgical method. Ocular Surgery News, 26(15), 32-36.

Killeen, M. B., and King, I. M. (2007). Viewpoint: use of King's Conceptual System, Nursing Informatics, and nursing classification systems for global communication [corrected] [published erratum appears in INT J TERMINOL CLASSIF 2007 OCT-DEC;18(4):156]. International Journal of Nursing Terminologies & Classifications, 18(2), 51-57.

King, I. M. (1981). A theory for nursing: Systems, concept, & process. New York : John.

Liu, L., Wu, J., Geng, J., Yuan, Z., & Huang, D. (2013). Geographical prevalence and risk factors for pterygium: a systematic review and meta-analysis. BMJ open, 3(11), e003787.

Pritchard, M. J. (2009). Identifying and assessing anxiety in pre-operative patients. Nursing standard, 23(51), 35-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31