โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการ ที่เป็นเลิศกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภินันต์ อันทวีสิน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ, ประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ วิเคราะห์ปัจจัยของประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย และวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยพรรณนาหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารที่กำกับดูแลงานด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน จำนวน 298 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ข้อค้นพบการวิจัย มีดังนี้ (1) องค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การนำองค์กร การวางแผน กลยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และการพัฒนาองค์กร ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเชิงยืนยันลำดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเชิงยืนยันอันดับสองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถาบันและท้องถิ่น และ (3) องค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากข้อค้นพบในการวิจัย ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาเอกชน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การวางแผนกลยุทธ์  โดยควรให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของคณะวิชา /ส่วนงาน ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศไปใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารในภาพของแต่ละสถาบัน

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ :บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ปลวัชร รุจิรกาล. (2554). การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพการศึกษาโรงเรียนกีฬาโดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาสนา บุญญาพิทักษ์. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสาขาดนตรีและนาฏศิลป์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2555). การพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : บริษัท กรีนแอปเปิ้ลกราฟฟิค พริ้นติ้ง จำกัด.

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี. (2559). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558, จาก https://www.apheit.org/apheit-/2012-06-23-09-30-55.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561 (ร่างฉบับ 3). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558, จาก https://www.edpex.org.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558, จาก www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Announcement/44.pdf.

อาทิตยา ดวงมณี. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยโดยการเทียบเคียงสมรรถนะตามเกณฑ์คุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2554). การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกทิป สุขวารี. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ สำหรับสถาบันอุดมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development: manual for the multifactor leadership questionnaire. Palo Alto, Calif.: Consulting Psychologists Press.

Carl D. Glickman, Stephen P. Gordon and Javita M. Ross-Gordon. (2010). Super vision and instructional leadership, ed. Boston: Pearson Education Inc.

Cooke, R. A. and Lafferty, J.L. (1989). Level : Organizational culture inventory. Plymouth, MI : Human Synergisties.

Epstein, J. L. (1995). School/family/community partnerships: Caring for the children we share.Phi Delta Kappan. 92(3), 81-96.

Gary N.Mclean. (2005). Organization Development Principles, Processes, Performance. USA : Berrett-Koehler Publishers.

Lado, A. A., Boud, N.G., and Wright, P. (1992). A competency-based model of sustainable competitive advantage: Toward a conceptual integration. Journal of Managment.18(1), 77-91.

Senge, Peter M. (2006). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. New York : Doubleday.

Stewart Black and Newton Margulies.(1989) An ideological perspective on participation : A case for integration. Journal of Organization Change Management. 2(1) : 16.

Wayne K. Hoy and Cecil G. Miskel. (2008). Educational administration: Theory, Research, and Practice. 8th ed. New York: McGraw-Hill.

World Economic Forum. (2014). The global competitiveness report 2014-2015. [Online]. Retrieved June 10, 2015, from https://www3.weforum.org/docs/WEF_ Global Competi tiveness Report_2014-15.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31