การพัฒนาบทเรียน e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัชรี แวงวรรณ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

e-Learning, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, หลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองที่เรียนด้วย e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นต่อบทเรียน e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามที่เรียนวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล (พย.1203) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) บทเรียน e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) แบบประเมินความคิดเห็นในการพัฒนาบทเรียนโดยใช้ e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้สถิติที (Paired t-test) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการ สวนปัสสาวะมีค่าเท่ากับ 100/90 มีค่ามากกว่าเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักการและเทคนิคการ    สวนปัสสาวะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วย e-Learning อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทเรียนโดยใช้ e-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการสวนปัสสาวะโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\bar{x}= 3.91) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่าผู้สอนควรคำนึงถึงบริบทและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสอนด้วย e-Learning ที่ต้องมีความพร้อมทั้งด้าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์ในการเข้าถึงของนักศึกษาที่มีอย่างเพียงพอและสถานศึกษาควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนแบบ e-Learning ได้แก่ระบบเครือข่ายให้สามารถรองรับกับการเรียน e-Learning และการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับนักศึกษาและรวมทั้งกำหนดนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนด้วย e-Learning และส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาออกแบบบทเรียน e-Learning อย่างเป็นรูปธรรม

References

ชุลีพร ปิ่นธนสุวรรณ. (2557). ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2) : 238-250.

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์. 21(1), 100-112.

ปิยภัทร โกษาพันธุ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงวิชาการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ". วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 4(1), 61-66.

วินัส แก้วประเสริฐ. (2557). การศึกษาผลการคิดวิเคราะห์และสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบอีเลิร์นนิงโดยใช้การเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2), 947-961.

Changa W.Y. et al. (2008). Developing an e-learning education program for staff nurses : Processesand outcomes. Nurse Education Today. 29(1), 822-828.

Mari Lahti, HeliHatonen, MarittaValimaki. (2014). Impact of e-learning on nurses' and Studentnurses knowledge, skills, and satisfaction: A systematic review and meta-analysis. International journal of nursing studies. 51(1), 136-149.

Kaewprasert,V. (2014). A study of analytical thinking and learning achievement via e-learning using case based learning method for undergraduate students of education program. Veridian E-Journal. 7(2), 947-961.

Kosapan,P. (2014). A Development of e-Learning data and information Management. Journal of Industrial Technology Ubonratchathani Rajabhat University. 4(1), 61-66.

Pintanasuwan, C. (2014). Effects of E-learning by using inquiry based learning for creative problem Solvingof teaching profession, undergraduate students. Veridian E-Journal. 7(2), 238-250.

Veigh,M. H. (2009). Factors influencing the utilization of e-learning in post-registration Nursingstudents. Nurse Education Today. 29(1), 91-99.

Wajanawisit T. (2014). Development of e-Learning on Information Technology Course, Kuakarun Facultyof Nursing. Kuakarun Journal of Nursing. 21(1), 100-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31