ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชีและคุณภาพงบการเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชี,, คุณภาพงบการเงิน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางบัญชีควรมีความรู้ในเรื่องของทักษะทางวิชาชีพ ความรู้ในเรื่องของมาตรฐานการบัญชี และต้องมีการปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่ได้มีการกำหนดไว้ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสามารถจัดทำงบการเงินได้อย่างมีคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บุคลากรทางบัญชี จำนวน 361 คน ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน วิชาชีพ และด้านความชำนาญในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (2) จรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความโปร่งใส ด้านการรักษาความลับ และด้านความรับผิดชอบ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (3) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อคุณภาพงบการเงิน ด้านความทันต่อเวลา ด้านความเปรียบเทียบได้ ด้าน ความพิสูจน์ยืนยันได้ และด้านความเข้าใจได้ผลการวิจัยในครั้งนี้หัวหน้างาน หรือผู้บริหารสามารถนำไปปรับใช้ ในการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อการคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร
References
ฐิติรัตน์ มีมาก. (2559). สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) 21(1), 127-140.
ฐิติวรรณ ลาสอน. (2550). ผลกระทบของศักยภาพการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินการของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2554). คุณภาพของกำไรในงบการเงิน. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี. 8(2), 52-58
ณัฐณิชา กาวิชัย. (2556). ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2556). ความต้องการพัฒนาความรู้ทางบัญชีของบุคลากรส่วนการคลังสังกัดองค์การบริหาร ส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 8(2), 33-46.
บุษยา วัฒนะงาม. (2556). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางการบัญชีและการสนับสนุนของผู้บริหารที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิวิมล ศรีเจริญจิตร. (2548). คุณสมบัตินักวิชาชีพบัญชีที่สามารถแข่งขันได้. สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 จาก https://www.icaat.go.th.
อรกัญญา โฆษิตตานนท์. (2551). อิทธิพลของผู้ทำบัญชีธนาคารหมู่บ้านที่มีผลต่อการบริหารจัดการในชุมชน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อรพรรณ อิทรแหยม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Murray C.Wells. (1994). The Skills and Competencies of Accountants. Accounting Education for the 21 Century.(21), 19-21.