ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์ของรายวิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
แคลคูลัส 1, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์ของรายวิชาแคลคูลัส 1 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์ ในรายวิชาแคลคูลัส 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์ รายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ศูนย์นนทบุรี จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เนื้อหารายวิชาแคลคูลัส 1 ประกอบด้วย เรื่อง ฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันค่าจริง อนุพันธ์ของฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์ของอนุพันธ์ ปริพันธ์ของฟังก์ชัน เทคนิคการหาปริพันธ์และการประยุกต์ของปริพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 มีประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 70/60
2) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 อยู่ในระดับมาก ( = S.D. = .58)
References
ฉวีวรรณ กีรติกร. (2537). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร สำลี. (2549). การพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ธันฐกานต์ ทองสินเกียรติและสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). เกณฑ์ปกติมาตรฐานการพัฒนาสถานศึกษาเอกชน ขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 21(36), 191-211.
ปฤษณา กลับอุดมและคณะ. (2549). พื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์กระบวนวิชา แคลคูลัส 206111. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มาลินี อุ่นสี. (2552). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
รวมพร ทองรัศมี. (2558). การจัดการความรู้ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 23(42) , 229-244.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2558). การสร้างชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 สำหรับนักศึกษาเอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร. 10(2) , 123-131.
Edge, Orlyn P. & Friedberg, Stephen H. (1984). Factors affecting achievement in the first course in Calculus. The Journal of Experimental Education.52(3), 136-140.