รูปแบบภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
รูปแบบภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการ, ภาวะผู้นำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคนิควิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ตำแหน่งผู้จัดการหรือผู้อำนวยการ รองผู้บริหาร หรือผู้ช่วยผู้บริหาร อนุศาสก และหัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าโครงการ จากโรงเรียน 27 แห่ง จำนวน 177 คน โดยศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ขององค์ประกอบและวิธีการ หรือเทคนิคในการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน สัมภาษณ์แนวคิดผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ในการพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบ ได้ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 นอกจากนั้น มีการตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้บริหารโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 30 คน นำมาสังเคราะห์ประเด็นความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ ได้ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 นำมาสรุปเป็นรูปแบบภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการ
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการ มีหลักการเดียวกับการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change Education) ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดผล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. บริบทของภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยอย่างยั่งยืน มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ภาวะผู้นำแบบใจ ใฝ่บริการ สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการและวิธีการ/เทคนิคในการบริหารให้เกิดความยั่งยืน
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการ ประกอบด้วย ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) โดยหัวใจสำคัญของแนวทางนี้คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Change Education) ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ซึ่งเกิดจากการฝึกปฏิบัติ การสั่งสมประสบการณ์และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
3. แนวทางการนำรูปแบบการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใจใฝ่บริการควรกำหนดเป็นนโยบายอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้การ
ศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นหลักเกณฑ์ในการเข้าสู่ตำแหน่งและการพิจารณาความดีความชอบ เพื่อผลักดันให้การบริหารจัดการโรงเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างยั่งยืน
References
ดำรง ศรีอร่าม. (2554). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2548). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปทุมพร เปียถนอม (2554). รูปแบบการพัฒนภาวะผู้นำเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมจิตต์ เหมินทร์. (2545). วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ในการทำงานเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: โพรดักส์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรรณี แกมเกตุ. 2551. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 6. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สุรพงศ์ มิตรกูล. (2560). สรุปรายงานพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ระหว่างพฤษภาคม ค.ศ. 2016- เมษายน ค.ศ. 2017. ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสภาคริสตจักรในประเทศไทย สมัยสามัญครั้งที่ 2/2017. วันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2549). ข้าราชการพลเรือนกับสมรรถนะ. กรุงเทพฯ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อานันท์ ปันยารชุน. (2541). ใน สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ (บรรณาธิการ), ผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
Anderson & Anderson. (2001). Beyond Change Management. Practicing Organization
Bennis, W. (1999). On Becoming A Leader. Reading, Massachusetts: Perseus Books.
Denhardt and Denhardt. (2007) The New Public Service. Library of Congress Cataloging-in Publication Data.
Giber, Carter and Goldsmith. (2000). RNA Granule Assembly and Disassembly Modulated by Nuclear Factor Associated with Double-stranded RNA 2 and Nuclear Factor 45.Journal of Biological Chemistry. 289(30), 21163-21180
Greenleaf, R.K. (2008). Servant Leadership. IN L.C. Spears (Ed.) Insights on Leadership: Service, stewardship, spirit, and Servant-Leadership. New York : John Wiley & Sons Inc.
James, Gleick. (1987). Chaos: The making of a New Science. Viking Adult.
Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Yukl. (2010). Leadership in Organizations. 7 ed. New Jersey : Prentice Hall.