รูปแบบการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวชุมชนหนองขนาน จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, นาข้าว, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
สารเคมีตกค้างเกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและส่งผลกระทบต่อ ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวของกลุ่มชาวนา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่ม การวิเคราะห์ระดับสารเคมีตกค้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสถิติ เชิงพรรณนา และสถิติที
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการทำนาโดยมีกระบวนการ 7 ขั้นตอนคือ 1) การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ปลอดสารเคมีและเมล็ดพันธุ์ปลอมปน 2) การเตรียมดิน 3) อัตราเมล็ดพันธุ์ 4) การใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ 5) การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน 6) การทำความสะอาดรถเก็บเกี่ยวทางการเกษตร และ 7) การพักแปลงนาด้วยการเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชสดบำรุงดิน ผลการวิเคราะห์ระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มหลังการใช้รูปแบบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับสารเคมีตกค้างในเมล็ดข้าวดิบ ใบข้าว และโคนข้าวลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย
การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ คือ ชุมชนและภาคส่วนรัฐควรมีการใช้รูปแบบการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดเป็นชุมชนต้นแบบและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). รายงานสถานการณ์ มลพิษของประเทศไทยปี 2556. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2559, จาก www.pcd.go.th/public/News/Files/draft%20report.pdf.
ณัฐ์ธเนศ มหาศักย์ศิริ. (2556). ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของชาวนา หมู่บ้านคลอง 14 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์. 31(1), 69-92.
ณัฐพร ปลื้มจันทร์ และณิชชาภัทร ขันสาคร. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสในเลือดของเกษตรกรใน ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพิษวิทยาไทย. 30(2), 128-141.
นัฐวุฒิ ไผ่ผาด และคณะ. (2557). ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. แก่นเกษตร. 42(3), 301-310.
ผุสดี ละออ และวันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา. (2557). การศึกษาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักพื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ครั้งที่ 4 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, นนทบุรี.
พิกุล พงษ์กลาง. (2559). การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารต้นทุนการผลิตของการปลูกข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 8(3), 102-117.
ภาสกร นันทพานิช. (2558). การผลิตข้าวและแนวทางการพัฒนาในเขตน้ำฝนและชลประทาน จังหวัดอุตรดิตถ์. แก่นเกษตร. 43(4), 643-654
ยงยุทธ์ ศรีเกี่ยวฝั้น และคณะ. (2555). การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ลิ่มทอง พรหมดี และคณะ.(2552). ระดับซีรัมโคลีนเอสเตอเรสและเอนไซม์ทดสอบการทำงานของตับ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 51(2), 144-153.
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2554). การพัฒนาระบบการเกษตรทางเลือก กรณีศึกษาตำบลสุขภาวะภาคกลาง. วารสาร มฉก.วิชาการ. 15(29), 47-66.
วันวิสา ใจราชและคณะ. (2557). ผลของเทคโนโลยีการผลิตที่มีต่อปริมาณและคุณภาพพริกเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. แก่นเกษตร. 42(3), 772-777.
วีราษฎร์ สุวรรณ และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรทำสวนมะลิ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(2), 24-33.
วรเชษฐ์ ชอบใจ และคณะ. (2553). พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4(2), 36-46.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2554). การบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในมุมมองของเกษตรกร: กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. 16(3), 271-280.
สง่า ทับทิมหิน. (2555). กระบวนการลดการใช้สารเคมี กำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกพริก และชุมชนบ้านหัวเรือทอง ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5(1), 65-77.
สรพงค์ เบญจศรี. (2553). เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1), 78-88.
สามารถ ใจเตี้ย. (2556). การพัฒนารูปแบบการผลิตพืชผักสวนครัวเพื่อสุขภาพของชุมชนสะลวงขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชภัฏเชียงใหม่. (14), 15-22.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2556). โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภค ปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส, เพชรบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2560, จาก https://iremdb2.ddc.moph.go.th/detail.aspx?type=all&searchtxt/.
Bjelland, I.,Dahl, A.A.,Haug and Neckelmann, D (2002). The validity of the hospital anxiety and depression scale: An updated literature review . Journal of Psychosomatic Research. 52(2), 69-77.
Hinson, A.V., Dossor, F., Yehouenou, P.E., Hountikpo, H., Lawin, H., Aguemon, B., Koudafoke, A., Houngbegnon, P., Gounongbe, F., and Fayomi, B. (2017). Risk factors of pesticide poisoning and pesticide users' cholinesterase levels in cotton production areas:Glazou and save townships, in central republic of Benin. Environmental Health Insights. (11), 1-10.
Quandt, S.A., Pope, C.N., Chen, H., Summers, P. and Arcury, T.A. (2015). Longitudinal assessment of blood cholinesterase activities over two consecutive years among latino non-farmworkers and pesticide-exposed farmworkers in North Carolina.Journal of Occupational and Environmental Medicine. 57(8), 851-857.
Sankoh, A.I., Whittle, R., Semple, K.T., Jones, K.C. and Sweetman, A.J. (2016). An assessment of the impacts of pesticide use on the environment and health of rice farmers in Sierra Leone. Environment International. (94), 458-466.
Toan, P.V., Sebesvari, Z., Blasing, M., Rosendahl, I. and Renaud, F. (2013). Pesticide management and their residues and surface and drinking water in the Mekong Delta, Vietnam. Science of the Total Environment. (452-453), 28-39.
Tsai, Wen-Tien. (2013). Analysis of coupling the pesticide use reduction with environmental policy for agricultural sustainability in Taiwan. Environment and Pollution. (2), 59-65.
Vaidya, A., Gyenwali, D., Tiwari, S., Pande, B.R., and Jors, Erik. (2017). Changes in perceptions and practices of farmer and pesticide retailers on safer pesticide use and alternative: Impacts of a community intervention in Chitwan, Nepal. Environmental Health Insights. (11), 1-12.
Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory analysis, 3 Ed., New York: Harper and Row Publication.