รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นันทิยา ขัมพานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, องค์กรแห่งการเรียนรู้, การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบ  การพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษา: โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นการเตรียมความพร้อม (2) ขั้นการวิจัยในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3) ขั้นการ รายงานผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงาน อยู่ในโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จำนวน 222 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการาวิจัย คือ 1) แบบประเมินการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ ในการอบรมปฏิบัติการ (4) แบบประเมินโครงการกิจกรรมสำคัญ (5) แบบสัมภาษณ์  และ (6) แบบสังเกตการณ์ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) และการทดสอบแบบที (t-test Independent Samples)

          ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช คือ LOVE Model ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ L: Learning  หมายถึง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของครู ทีมงาน องค์กร โดยเชื่อมโยง กับระบบย่อยทุกส่วนงานด้วยวิธีการหลากหลาย และเป็นพลวัตร O: Organization หมายถึงโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ที่มีความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ V: Volunteer หมายถึง ครู ทีมงาน และองค์กร ที่มีจิตอาสาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรับความรู้ การถ่ายโอนความรู้อย่างเป็นปกติวิสัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร และ E: Enthusiastic หมายถึง บุคลกรทางการศึกษาทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ ต่างมีความเชื่อศรัทธาและภักดีต่อองค์กร ทำให้เกิดความกระตือรือร้นต่อการศึกษาเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล ทีมงานและองค์กร รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.47) และมีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01สถานศึกษาอื่นสามารถนำรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในรูปแบบ LOVE Model ไปใช้พัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาทุกขั้นตอนของการทำวิจัย และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี 6 เดือน

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ, องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์องค์การรับ-ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

นิรันดร์ สุธีนิรันดร์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของคณะแพทย์ศาสตร์ในถาบันอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา. (2556). ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ปีการศึกษา 2556. นครศรีธรรมราช.

___________________. (2556). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ระยะ 5 ปี ปีการศึกษา 2556-2560. นครศรีธรรมราช.

วีระชัย คล้ายทอง. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ , ก.พล

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2549). การพัฒนาโมเดลสมรรถนะเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 13(1), 1-34.

สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรัตน์ ดวงชาทม. (2549). การพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. ขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทย (ก.พ.ร.). (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558, จาก https://www.nesdb.go.th/.

Default. axpx? Tabid 395 Judith Kearney & Ortrun Zuber-Skerritt. (2012). From learning organization to learning community Sustainability through lifelong learning. In Journal of Emerald. (19), 400-413.

Matquardt, Michael; & Reynold, Angus. (1994). The Global Learning Organization.New York, Irwin.

Peter M. Senge. (1990). The Fifth Discipline The Art & Practice of the Learning Organization. United States of America.

____________. (1994). The Fifth Discipline Fieldbook. United States of America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30