ผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวด หลังผ่าตัดและอาการท้องอืดที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
หลังผ่าตัดทางหน้าท้อง, อาการปวดหลังผ่าตัด, อาการท้องอืดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวช หลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวดหลังผ่าตัดและ อาการท้องอืด ตามทฤษฎีการจัดการอาการของดอดด์ และคณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วย นรีเวชที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง ใน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 ราย และกลุ่มทดลอง 26 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ โดยการฟังเพลงบรรเลงและการเคี้ยวหมากฝรั่ง ในวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 หลังผ่าตัด เวลาเช้า กลางวัน เย็น เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้อง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของความปวด และแบบประเมินอาการท้องอืด วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา, Chi-Square test, Repeated Measures ANOVA, ANCOVA, Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ ในวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 หลังผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ยความปวดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ ในวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 หลังผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ยอาการ ท้องอืดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรนำ โปรแกรมการจัดการอาการมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด หลังผ่าตัดและอาการท้องอืดในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้อง
References
กษยา ตันติผลาชีวะ. (2549). Post operative ileus: Cause, prevention and treatment. ศัลยศาสตร์ วิวัฒน์ 32. กรุงเทพฯ, สํานักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.
เชิดศักดิ์ ดวงจันทร์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, สุพร ดนัยดุษฎีกุล และเชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. (2559). ผลของการเคี้ยวหมากฝรั่งต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หลังผ่าตัดช่องท้องแบบเปิด. สารศิริราช, 68(3), 135-141.
พรรณทิพย์ เกียรติสิน, สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, และปรางทิพย์ ฉายพุทธ. (2553). การฟื้นตัวหลัง ผ่าตัดในผู้ป่วย ผ่าตัดช่องท้อง: การสังเคราะห์วรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล, 25(2), 87.
ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2554). แนวทางการพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัย.
ศศิวิมล ศรีสุโข. (2557). Overview in Abdominal Hysterectomy.[ออนไลน์]. สืบค้น 25 กันยายน 2559,จาก https://www.med.cmu.ac.th/ dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=894:overview-in-abdominal-hysterectomy&catid=45&Itemid=561.
ศิริพรรณ ภมรพล. (2556). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 6(1), 1-11.
ศิริรัตน์ มั่นใจประเสริฐ. (2552). ภาวะท้องอืด การจัดการภาวะท้องอืด และความพึงพอใจต่อการจัดการกับภาวะท้องอืดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพร ชินโนรส, มยุรี จิรภิญโญ และขวัญจิตร์ ปุ่นโพธิ์. (2552). ความปวด การจัดการกับความปวด และความพึงพอใจต่อการจัดการกับความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 327-343.
หนูเพียร ชาทองยศ. (2550). ผลของการเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อลดอาการท้องอืดในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไต โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัจฉราพร โชติพนัง และอวยพร ภัทรภักดีกุล. (2559). ผลของการฟังดนตรีตามชอบต่อความปวด และสัญญาณชีพในผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 26(2), 43-53.
Barsevick AM, WhitmerK, Nail LM, Beck SL, Dudley WN. (2006). Symptom cluster research: conceptual, design, measurement, and analysis issues. J Pain Symptom Manage. 31(1), 85-95.
Basaran, M., & Pitkin, R. M. (2009). Gum chewing to prevent postoperative ileus. Anatolian Journal of Obstetrics & Gynecology. 1(2), 1-3.
Dodd, M., Janson S., Facione N., Faucett J., Froelicher E, S., Humphreys J., Lee K., Miaskowski C., Puntillo K.,et al. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing. 33(5), 668-676.
Ertas, I. E., Gungorduk, K., Ozdemir, A., Solmaz, U., Dogan, A., & Yildirim, Y. (2013). Influence of gum chewing on postoperative bowel activity after complete staging surgery for gynecological malignancies: a randomized controlled trial. Gynecologic oncology. 131(1), 118-122.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Hook, L., Songwathana, P., & Petpichetchian, W. (2008). Music therapy with female surgical patients: effect on anxiety and pain. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 12(4), 259-271.
Hus, A. (2007). The Relationship between Music Therapy and Post-Operative Pain Management. Retrieved November 1, 2017, from https://healthpsych.psy.vanderbilt.edu/web2007/
Kalff, J. C., Wehner, S., & Likouhi, B. (2016). Postoperative Ileus. Retrieved November 10, 2016, from https://www.uptodate.com/contents/postoperative-ileus
Li, S.et al. (2013). Chewing gum reduces postoperative ileus following abdominal surgery: a meta-analysis of 17 randomized controlled trials. Journal Gastroenterol Hepato, 28(7), 1122-1132.
Montgomery, E. (2016). The Science of Music Therapy. Retrieved November 14, 2016, from https://peterson family foundation.org/music-therapy/science-music-therapy/.musicpain.htm.
Nimarta, Singh, N. V., Shruti, & Gupta, R. (2013). Effectiveness of chewing gum on bowel motilityamong the patients who have undergone Abdominal Surgery. Nursing and Midwifery Research Journal, 9(3), 108-117.
Rao, M. (2006). Acute Post Operative Pain. Indian J Anaesth. 50(5), 340-344.
Simon, P. E. (2016). Skin Wound Healing. [Online]. Retrieved November 1, 2017, from https://emedicine.medscape.com/article/884594-overview.