การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมเป็นฐาน
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว, ท่องเที่ยวชุมชน, ชุมชนสนามจันทร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และสร้างแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 18 คน มีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ความคิดเห็น ความเหมาะสม ความต้องการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า หน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชนสนามจันทร์ ที่มีต่อการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์ ร่วมกับประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนสนามจันทร์ในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเชิงนโยบายการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการถอดเทปบทสัมภาษณ์มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาประเด็นที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน และดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลให้มีลักษณะเป็นแนวคิดสรุปเชิงนามธรรม โดยนำเสนอผลการศึกษาแบบวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เรียงตามข้อคำถาม
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า จาการวิเคราะห์เส้นทางในชุมชนสนามจันทร์มีพื้นที่ให้การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งพื้นที่ส่วนบุคคลของชาวบ้าน ประกอบด้วย สวนผลไม้ ไร่เกษตรผสมผสาน รีสอร์ท และพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย ตำหนักกรมหลวงชุมพร ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่มาศึกษาดูงานในชุมชนสนามจันทร์ แต่ชุมชนยังมีความต้องการในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนสนามจันทร์จากคณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชนสนามจันทร์ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จากการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์กับสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน สามารถผูกเส้นทางการท่องเที่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. Rong Wayรีสอร์ท 2. สวนเจ้ยูร 3. ร่วมทำกิจกรรมในชุมชน 4. ร้านค้าร้านอาหารในชุมชน ซึ่งชุมชนสนามจันทร์มีจุดเด่นที่หลากหลาย มีความน่าสนใจและมีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะเข้ามาเยี่ยมชมในชุมชนด้วยหลายวัตถุประสงค์ ได้แก่ การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน ท่องเที่ยวเพื่อศึกษาหาความรู้ ศึกษาดูงาน เป็นต้น ส่วนจุดด้อยและอุปสรรคในชุมชนสนามจันทร์คนในชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสามารถช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ จัดที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน หรือทำการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานอื่นได้รู้จักกับชุมชนสนามจันทร์มากยิ่งขึ้น
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลางเขต 4. (2544). อเมซิ่งนครปฐม. กาญจนบุรี : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จารุจน์ กลิ่นดีปลี. (2541). การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, กรณีศึกษา: อุทยานแห่งชาติไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.กรุงเทพมหานคร.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ (2560).การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2): 25-46.
ณัฐวุฒิ โรจนทัต. (2551).การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและ บริเวณรอบนอกเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
ดรรชนี เอมพันธุ์ (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ.กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ธารทิพย์ ขาวผ่องอำไพ. (2552). การศึกษาผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีต่อสุขภาวะทางสังคมของคนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
นิสารัตน์ จุลวงศ์. (2553). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม.สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
นำขวัญ วงศ์ประทุม. (2561). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมู่บ้านวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.
ปาริฉัตร อิ้งจะนิล. (2554). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบตลาดเก่ากรณีศึกษาตลาดคลองสวน 100 ปีจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 4 ปี พ.ศ.2561-2564. (2561). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครปฐม.
เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2558) .แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
วิวัฒน์ ชัยบุญยภักดิ์. (2529). ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว, ปีที่ 4 (ฉบับเดือนตุลาคม) : 31-38.
สุดารัตน์ แสงจำนงค์. (2550). การศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวพระตำหนักในสมัย รัชกาลที่ 5 เขตพระราชวังดุสิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.กรุงเทพมหานคร.
สุวัฒนา ธาดานิติ. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. ในชีวบรรณาธิการ (บ.ก.) การประชุมวิชาการสาขาการออกแบบและวางผังชุมชนเมืองและผังเมือง ครั้งที่1 เรื่อง มหานคร. กรุงเทพมานคร, ประเทศไทย.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ศูนย์บริการวิชาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเทียวอย่างยั่งยืน. (2553). การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สืบค้นจาก http://www.dasta.or.th/attachments/article/678/822-1416-0.pdf.
องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์. (2561). คำสั่งประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตําบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม.
อิสระพงษ์ พลธานี และอุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2561).การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุบลวรรณ ประดับสุข. (2545). Cultural Heritage Issues. จุลสารการท่องเที่ยว.
TAT Review. (2018). การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/
UNWTO. (2004). Global Code of Ethics for Tourism. Retrieved from http://ethics.unwto.org/en/content/global-code-ethics-tourism
Sznajder, M., Przdzborska, L. and Scrimgeour, F. (2009). Agritourism. MPG Book Group. UK.