องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภราดี พิริยะพงษ์รัตน์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, องค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนา และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างเชิงองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์และพนักงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทย จำนวน 329 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบสัดส่วนกระจายลงทุกสถาบันที่ศึกษาตามสัดส่วนของอาจารย์ประจำของแต่ละสถาบันและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา   

          ผลการวิจัย พบว่า วัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การทำงานร่วมกัน (2) ยึดมั่นในหลักศาสนา (3) สัมพันธภาพระหว่างผู้นำกับผู้ตาม (4) การบริหารจัดการ และ (5) กลยุทธ์สร้างนวัตกรรมมุ่งความสำเร็จ การตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2) = 10.829, df = 5, χ2/df (CMIN/DF) = 2.166, RMR = .007,  RMSEA = .061, GFI = .986, AGFI = .958, TLI = .989 and CFI = .995 แสดงว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรตามการรับรู้ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดองค์กรคริสตศาสนาเชิงยืนยันลำดับหนึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารไปสำรวจวัฒนธรรมองค์กรตามตัวแปรที่ค้นพบเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสในการพัฒนาและให้การสนับสนุนตามตัวแปรองค์ประกอบที่สำคัญอย่างจริงจังต่อไป

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.(2563). องค์การทางศาสนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลกลางศาสนา.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: รัตนไตร.

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ. (2554). มหาวิทยาลัยไทยในยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์: จุดปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทาย.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2),17-27.

พลวศิษฐ หล้ากาศ. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (การค้นคว้าแบบอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย .(2011). พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

มนชญา ดุลยากร. (2553). การศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่มีอิทธิผลต่อความผูกพันของครูต่างชาติในโรงเรียนนานาชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2556). อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (ฉบับปรับปรุงค.ศ. 2013). กรุงเทพฯ : สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย.

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2557). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ปี ค.ศ. 2012-2015. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย.

สภาคริสตจักรในประเทศไทย. สำนักงานพันธกิจการศึกษา. (2546). หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารสำนักงาน พันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. เชียงใหม่: สำนักงานพันธกิจการศึกษา.

สภาคริสตจักรในประเทศไทย. สำนักงานพันธกิจการศึกษา. (2548). รายงานประจำปี O.E.M. Annual Report 2004. เชียงใหม่: สำนักงานพันธกิจการศึกษา.

สภาคริสตจักรในประเทศไทย. สำนักงานพันธกิจการศึกษา. (2543). แผนพัฒนาพันธกิจคริสเตียนศึกษาในโรงเรียน ปีการศึกษา 2543-2545. เชียงใหม่: สำนักงานพันธกิจการศึกษา.

Berrio, A.A. (2003). An organizational culture assessment using the competing values framework: a profile of Ohio State University extension. Journal of Extension, 41(2), 2FEA3. Retrieved from: http://www.joe.org/joe/2003april/.

Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (2011). Diagnosing and Changing Organizational Culture: Based on the Competing Values Framework (3rd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Denison, D. R., Haaland, R., & Goelzer, S. P. (2003). Corporate culture and organizational effectiveness: Is Asia different from the rest of the World. Organizational Dynamics, 33(1), 98–109.

González-Romá, V. (2016). Leader-member exchange and organizational culture and climate. In T. Bauer & B. Erdogan (Eds.), The Oxford Handbook of Leader-Member

Exchange (pp. 311-331). New York: Oxford University Press.

Hinkle, D.E, William, W. & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Kinicki, A., & Kreitner, R.(2009). Organizational behavior: Key concepts, skills & best practices (4th ed.). New York, NY: McGraw-Hill Irwin

Koberg & Christine.(1987). Organizational culture relationships with creativity and other job related variables. Journal of Business Research, 15(5), 397-409.

Kouzes, J., & Posner, B.(2002). The leadership challenge (Revised/Expanded ed.). SanFrancisco: Jossey-Bass.

Kraft, D.(2010). Leaders who last. Wheaton, IL: Crossway.

Liden, R. C., Erdogan, B., Wayne, S. J., & Sparrowe, R. T.(2006). Leader-member exchange, differentiation, and task interdependence: Implications for individual and group performance. Journal of Organizational Behavior, 27, 723-746.

Luthans, F. 1998. Organizational behavior, (5th ed.). Boston: Irwin-McGraw Hill.

Masood et al..(2006).Transformational leadership and organizational culture: the situational strength perspective. Proceedings of the Institution of Mechanical Engineers, Part B: Journal of Engineering Manufacture, 220(6), 941-949.

O'Reilly, Charles A, Chatman, Jennifer, & Caldwell, David F.(1991). People and organizational culture: A profile comparison approach to assessing person organization fit. Academy of management journal, 34(3), 487-516.

Robbins, Stephen P. & Coulter, Mary. (2007). Management (8th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Schein, H. (2010). Organizational culture and leadership (Vol. 4). New Jersey: John Wiley & Sons.

Tjatur B.I. (2018). The Effect of Organizational Culture and Career Development to Employee Performance through Organization Commitment on Directorate of Export of Agriculture and Forestry Products Ministry of Trade. International Journal of Arts Humanities and Social Sciences Studies. 3(2), 26-38.

Waldner C. L. (2005). The relationship between a Situational Construct, Organizational Culture, and Transformational and Transactional Leadership (Doctoral Dissertation). Available from ProQuest Dissertations and Theses database. (UMI No. 3203083)

Wilson J. (2011) Essentials of Business Research: A Guide to Doing Your Research Project. London: SAGE Publications.

Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.) New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-04