การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแปลผลระดับแก๊ส ในเลือดแดง สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ ตรีถิ่น อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การแปลผลระดับแก๊สในเลือดแดง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการแปลผลระดับแก๊สในเลือดแดง สำหรับนักศึกษาพยาบาล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม  จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการแปลผลระดับแก๊สในเลือดแดง แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที (Paired dependent t – test)

          ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.17/91.48 ตามเกณฑ์ 90 / 90 ที่กำหนด คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000)  และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับ ดีมาก ในทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.80 (S.D. = 0.01) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการแปลผลระดับแก๊สในเลือดแดง สำหรับนักศึกษาพยาบาล ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จึงควรนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนและพัฒนาประสิทธิภาพของโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

References

กฤษฎิ์ รัตนบุรี. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยทางสูติกรรม สำหรับนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 15-21. สืบค้นจาก http://edtech.edu.ku.ac.th/pdffile-e-journal/e-jer_Vol1_No1.pdf.

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

กันตพร ยอดใชย, เอมอร แซ่จิว และ วิฑูรย์ สังฆรักษ์. (2550). ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการ

สวนปัสสาวะต่อความรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. (2559). วิสัยทัศน์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. สืบค้นจาก http://nurse.christian.ac.th/webpage/Vision.html.

จิณพิชญ์ชา มะมม. (2557). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน: เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(2), 286-293.

จิตต์ระพี บูรณศักดิ์, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, และฤดี ปุงบางกะดี่. (2557) ผลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ ต่อความรู้ทักษะการตรวจครรภ์ และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล. วารสาร พยาบาลทหารบก, 15(3), 361-370.

ชมพูนาฏ ชมพูพันธ์, จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงษ์, อนุสรณ์ เอื้อประเสริฐ, และ อำนวย อรรจนาทร. (2550). การวิจัยและพัฒนา Courseware ทางการศึกษา เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (รายงานผลการวิจัย). เลย: ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ชลลดา ชูวณิชชานนท์. (2555). วิธีการและเทคนิคการสอนในห้องเรียนขนาดใหญ่ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. สืบค้นจาก http://www.ge.ssru.ac.th/file.php/1/data2556/4-4.1-7-09.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.

บังอร ฉางทรัพย์, สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ, ภาสินี สงวนสิทธิ์, และ อมรรัตน์ โตทองหล่อ. (2560). เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่างนักศึกษาที่เรียนโดยวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคเอไอซีและวิธีเรียนแบบปกติ. วารสาร มฉก. วิชาการ, 20(40), 29-39.

ปิยะนุช ชูโต, สุกัญญา ปริสัญญกุล, และ พฤทธิ์ พุฒจร. (2550). ผลของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกลไกการคลอดต่อความรู้ของนักศึกษาพยาบาล. การพยาบาลและการศึกษา, 1(1), 23-32.

ภาสกร เรืองรอง. (2558). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาสกร เรืองรอง.

มนตรี แย้มกสิกร. (2550-2551). เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน: ความแตกต่าง90/90 standard และ E1/E2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(1), 1-16.

มหาวิทยาลัยคริสเตียน. (2559). ระเบียนการศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

วิชิต บุญสวัสดิ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสวนปัสสาวะแบบเป็นครั้งคราวผู้ป่วยเพศชาย สำหรับนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วิไลวรรณ ตรีถิ่น. (2557). ความสำคัญของแก๊สในเลือดแดงผิดปกติ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(3), 391-403.

วิไลวรรณ ตรีถิ่น. (2559). บันทึกการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน. สืบค้นจาก http://eservice.christian.ac.th/instructor/Info_Instruc.php

วัลยา ตูพานิช, และ สุนันทา กระจ่างแดน. (2557). ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดูแลสุขภาพที่บ้าน สำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(2), 199-210.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และ ดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย วรกิจเกษมกุล. (2553). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.

อาภาลักษณ์ พรรคสายชล. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนวิชาชีวกลกายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(2), 24-35.

Black, J. M., & Hawks, J. H. (2009). Medical- nursing: Clinical management for positive outcome. (8th ed.). St. Louis: Saunders Elsevier.

Huether, S. E., & McCance, K. L. (2008). Understanding pathophysiology. St. Louise: Mosby Elsevier.

Lian, J. X. (2013). Using ABGs to optimize mechanical ventilation. Nursing, 43(6), 46-52.

Rogers, C. (1969). Freedom to Learn. Ohio: Bell & Howell Company.

Travale, I. L. (2007). Computer-assisted instruction for novice nurses in critical care. The Journal of Continuing Education in Nursing, 38(3), 132-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15