การตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นัทธ์หทัย เถาตระกูล Chiangmai Rajabhat University

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การสื่อสารการตลาด, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ 2)ศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยว อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน 600 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวและมากับเพื่อน มีวัตถุประสงค์ของการเดินทางมาท่องเที่ยว คือ พักผ่อนหย่อนใจ สำหรับผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจในกิจกรรมท่องเที่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความสนใจในกิจกรรมอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า การได้คำแนะนำจาก ครอบครัว เพื่อนสนิท และคนใกล้ชิด เป็นปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา คือ สถานประกอบการควรนำเสนอเนื้อหาของข่าวสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ และสามารถกระตุ้นความความสนใจและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 3. สืบค้นจาก.http://www.thansettakij.com/2016/05/23/55393

กัลยาวาณิชย์บัญชา. (2551).การใช้ SPSS for Windowsในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560).เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่.13).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ประชากรไทย GenYใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง. สืบค้นจาก http://www. thansettakij.com/content/234315

ไทยนิวส์. (2559). น้ำพุร้อนเปิดตัวเที่ยวเชิงสุขภาพ Lanna Expo 2016. สืบค้นจาก http://www.thainews70.com/

ธนินนุช เงารังสีและมัลลิกา ผลอนันต์. (2560). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 143-154.

ธันยา พรหมบุรมย์ และนฤมลกิมภากรณ์. (2558). การรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อแบรนด์ท่องเที่ยวไทยภายใต้แคมเปญ“AMAZING THAILAND”.วารสารการบริการและการท่องเที่ยวเที่ยวไทย, 10(1), 15-29.

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี. (2559). ปัจจัยด้านประสบการณ์และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้านสารสนเทศอาหารไทยเพื่อการท่องเที่ยวบนอุปกรณ์เคลื่อนที่.วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย,11(2), 37-52.

บริษัทไจแอนท์พอยท์ จำกัด. (2561). เปิดเคล็ดลับ Marketing Tool ที่ควรมีสำหรับการออกบูธแสดงสินค้า.สืบค้นจากhttps://www.giant-point.com/การออกบูธแสดงสินค้า.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2561). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอนาคต กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),11(1), 79-98.

เสนอ นิ่มเงิน. (2561). Generation กับพฤติกรรมการรับขาวสารผ่านสื่อต่างๆ.สืบค้นจากhttps://www. prd.go.th/download/article/article_20180904 112336.pdf

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550).พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer Behavior.(พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Armstrong, G. &Kotler, P. (2009).Marketing, an introduction. (9thed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Cronbach, Lee J. &Shavelson, Richard J. (2004).My Current Thoughts on Coefficient Alpha and Successor Procedures.Educational and Psychological Measurement,64(3), 391-418.

Dom, M., Mazlan, S., Hani, R., Binti, S., Li, L., Chin, A., &Tze, T.F. (2016).Determinants of the effectiveness of celebrity endorsement in advertisement.The Journal of Developing Areas, 50(5), 525-535.

Eze, U. C., Chin, C. H. H., & Lee, C H. (2012).Purchasing designer label apparel: Role of reference groups.Asain Journal of Business Research, 2(2), 54-74.

Kotler, P. & Keller, K. (2012).Marketing management.(12thed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Kushal, S. K. (2011). A surway of teenagers’ apparel purchase behavior: Fashion apparels, promotion, reference group and body cathexis. Paradigm, 15(1), 72-82.

Muda, M., Musa, R., &Putit, L. (2011). Celebrity Endorsement in Advertising: A Double-Edged Sword. Journal of Asian Behavioural Studies,1(3), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15